Page 684 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 684

P61


                  ประมาณ 3,000 - 5,000 บาท ต่อราย จากผลการเฝ้าติดตามการผ่าตัด 1 ตุลาคม พ.ศ.2565 ถึงเดือน

                  30 กันยายน พ.ศ.2566 ไม่พบภาวะแทรกซ้อนและอุบัติเหตุจากการจัดท่าผู้ป่วยขณะทำผ่าตัดอีก ซึ่งก่อนที่จะ
                  ประดิษฐ์นวัตกรรมชิ้นนี้ มีอุบัติเหตุและภาวะแทรกซ้อนจากการจัดท่าผู้ป่วยผ่าตัด เฉลี่ย 65% ต่อปี ปัจจุบัน
                  ลดลงเหลือ 1 % ต่อปี ที่เก็บแขนจัดท่าสำหรับผู้ป่วยผ่าตัดเป็นนวัตกรรมที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาในงานประจำ

                  ที่ตรงประเด็นและต่อเนื่อง เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ง่าย สะดวก ป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่เกิดกับผู้ป่วยได้
                  และสามารถลดค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นจากภาวะแทรกซ้อนได้

                  สรุปและข้อเสนอแนะ
                         “ที่เก็บแขนจัดท่าสำหรับผู้ป่วยผ่าตัด” เป็นนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ที่เกิดจากการมองเห็นปัญหาที่เกิด
                  ขึ้นกับผู้รับบริการห้องผ่าตัดโสต ศอ นาสิก นวัตกรรมนี้มีประสิทธิภาพและจัดทำจากวัสดุที่ปลอดภัยมาสู่การ

                  เพิ่มพัฒนาคุณภาพการให้บริการ ลดภาวะแทรกซ้อนต่อผู้ป่วยขณะผ่าตัด เจ้าหน้าที่สะดวกในการใช้งาน
                  และปัจจุบันได้นำไปใช้ในการผ่าตัดสาขาต่างๆ เช่น แผนกตา ศัลยกรรมกระดูกเช่นการผ่าตัดบริเวณไหล่หรือไห่
                  ปลาร้าที่ต้องจัดท่าผู้ป่วยท่านั่งในการผ่าตัด ศัลยกรรมทั่วไปเช่น การผ่าตัดผ่านกล้องที่ต้องจัดท่าเก็บแขนผู้ป่วย
                  ทั้งสองข้างในการทำผ่าตัด เป็นต้น และขยายผลนำไปใช้ยัง โรงพยาบาลอื่นๆ ได้แก่ ห้องผ่าตัดโรงพยาบาลวา

                  รินชำราบ จ.อุบลราชธานี และแนวคิดนี้ต้องการป้องกันปัญหาภาวะแทรกซ้อนและอุบัติเหตุจากการจัดท่า
                  ผู้ป่วยผ่าตัดและพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติการพยาบาลให้ดีขึ้น เพื่อให้เกิดประโยชน์และสะดวกในการใช้
                  งานและลดต้นทุนของโรงพยาบาล
   679   680   681   682   683   684   685   686   687   688   689