Page 731 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 731

R8


                  วัสดุอุปกรณ์

                         ท่อพีวีซี ,ข้อต่อสามทาง ,สีพ่น ,กระดาษทิชชู ,กาวร้อน ,กาวทาท่อพีวีซี ,ฟองน้ำ ,ผ้ายาง ,ตีนตุ๊กแก

                  ขั้นตอนการทำ
                                2.1 ตัดท่อพีวีซี 3” ยาว 15 cms. 1 ชิ้น ตัดท่อพีวีซี 4” ยาว 20 cms. 1 ชิ้น แล้วตัดแบ่งครึ่ง

                  ท่อพีวีซีทั้งสองขนาด จะได้ท่อลักษณะครึ่งวงกลมเพื่อใช้เป็นที่รองแขน / ขา
                                2.2 ตัดท่อพีวีซี 1.5” ยาว 20 cms. 2 ชิ้น และตัดท่อพีวีซี 2” ยาว 20 cms. 2 ชิ้น เพื่อใช้เป็น
                  แกนตั้ง
                                2.3 เจาะรูท่อพีวีซีแกนตั้ง 2 รู เพื่อให้แกนตั้งเลื่อนขึ้นลงปรับระดับได้

                                2.4 นำกระดาษทิชชูม้วนเป็นเกลียววางไว้ระหว่างท่อพีวีซีแกนตั้งกับแผ่นท่อพีวีซีผ่าครึ่งที่ใช้
                  เป็นที่รองแขน/ขา แล้วใช้กาวร้อนทาเพื่อเชื่อมติดกัน
                                2.5 ตัดท่อพีวีซี 4 หุน ยาว 10 cms. 2 ชิ้น ทากาวเชื่อมกับข้อต่อสามทางเพื่อเป็นที่จับตัวสอด
                  เปลี่ยนระดับ

                                2.6 พ่นสีเพื่อความสวยงาม
                         3. Check ประเมินผลการนำสิ่งประดิษฐ์ไปใช้โดยแพทย์เฉพาะทางสาขาศัลยกรรมกระดูกและข้อ 2
                  ท่าน

                         4. Action ปรับปรุงและพัฒนาสิ่งประดิษฐ์
                  ผลการศึกษา

                         1. หลังจากที่ได้นำสิ่งประดิษฐ์มาใช้ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2566 ถึงเดือนเมษายน 2566 จำนวน 30 ราย
                  พบว่า เป็นอุปกรณ์อำนวยความสะดวกช่วยในการยกแขนหรือขาผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดบริเวณปลายแขน
                  หรือปลายขาที่มีประสิทธิภาพ คิดเป็น 93%

                         2. ไม่มีการบาดเจ็บจากการจัดท่าในขณะผ่าตัด คิดเป็น 93%
                         3. ลดภาระงานพยาบาลห้องผ่าตัด หรือผู้ช่วยเหลือคนไข้ ในขั้นตอนการยกแขนหรือขาผู้ป่วยที่เข้ารับ
                  การผ่าตัดบริเวณปลายแขนหรือปลายขา คิดเป็น 100%

                  อภิปรายผล
                         สิ่งประดิษฐ์ ทุ่นแรงง่าย สบายแขน/ขา เป็นอุปกรณ์อำนวยความสะดวกช่วยในการยกแขนหรือขา

                  ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดบริเวณปลายแขนหรือปลายขา ป้องกันการบาดเจ็บจากการจัดท่าผ่าตัด และยังช่วยลด
                  ภาระงานพยาบาลห้องผ่าตัดหรือผู้ช่วยเหลือคนไข้ที่ต้องยกแขนหรือขาของผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดอีกด้วย

                  สรุปและข้อเสนอแนะ
                         1. การพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ เริ่มจากการใช้เสาน้ำเกลือและแผ่นสแตนเลส ราคา 1,000 บาท ซึ่งเป็นวัสดุ
                  ที่มีราคาสูง จึงได้มีการปรับเปลี่ยนพัฒนาวัสดุที่ใช้ในการทำสิ่งประดิษฐ์โดยใช้ท่อพีวีซีแทนเสาน้ำเกลือ

                  และแผ่นสแตนเลส ซึ่งมีราคา 400 บาท ประหยัดค่าใช้จ่ายลง 600 บาท
                         2. การพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ไม่มีการใช้วัสดุที่นุ่มหนุนรองบริเวณแขนหรือขา เพื่อป้องกันการบาดเจ็บ
                  จากการจัดท่าและป้องการการกดทับบริเวณผิวหนังเป็นเวลานานจึงได้มีการพัฒนาใช้ฟองน้ำมาตัดเย็บ เพื่อหนุน
                  รองบริเวณดังกล่าว พบว่าไม่มีการบาดเจ็บจากการใช้สิ่งประดิษฐ์

                         3. ทีมห้องผ่าตัดได้เล็งเห็นประโยชน์จากสิ่งประดิษฐ์ ทุ่นแรงง่าย สบายแขน/ขา ในการยกแขนหรือขา
                  ผู้ป่วยในขณะทำแผลที่ตึกศัลยกรรมกระดูกและข้อ จึงมีแนวทางเผยแพร่สิ่งประดิษฐ์นี้เพื่อใช้ประโยชน์ในการทำ
                  แผลที่ตึกศัลยกรรมกระดูกและข้อต่อไป
   726   727   728   729   730   731   732   733   734   735   736