Page 752 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 752
S7
ผลของการบริบาลทางเภสัชกรรมในคลินิกกัญชาทางการแพทย์ของผู้ป่วยที่ดูแลรักษา
แบบประคับประคอง โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์
นางสาวนภัสสร สำราญใจ กลุ่มงานเภสัชกรรมและงานคุ้มครองผู้บริโภค
โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ เขตสุขภาพที่ 9
ประเภทวิชาการ
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ เปิดบริการคลินิกกัญชาทางการแพทย์ตั้งแต่เดือนมกราคม
พ.ศ. 2563 มีทีมสหวิชาชีพที่ผ่านการอบรมหลักสูตรกัญชาทางการแพทย์ร่วมดูแลผู้ป่วยตามแนวทางที่กำหนด
และเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยกัญชาทางการแพทย์อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย มีความร่วมมือ
ในการใช้ยาและได้รับการแก้ไขจัดการเมื่อเกิดปัญหาจากการใช้ยา จากข้อมูลการให้บริการที่ผ่านมา พบว่ามีผู้ป่วย
ที่ดูแลรักษาแบบประคับประคองเข้ารับการรักษา จำนวนทั้งหมด 39 ราย โดยค้นพบปัญหาจากการใช้ยา 11 ราย
(28.20%) เช่น ขาดยา ไม่ใช้ยาตามแพทย์สั่ง เนื่องจากไม่สามารถรับประทานหรือกลืนยาได้ เกิดเหตุการณ์
ไม่พึงประสงค์ที่เกี่ยวกับยา จึงจำเป็นต้องมีกระบวนการของการบริบาลทางเภสัชกรรม ซึ่งต้องปฏิบัติร่วมกับ
บุคลากร วิชาชีพอื่น ได้แก่ แพทย์ พยาบาลและบุคลากรที่เกี่ยวข้องที่มีความรับผิดชอบต่อสุขภาพ ดังนั้น
ผู้วิจัยจึงต้องการศึกษาผลของการบริบาลทางเภสัชกรรมร่วมกับติดตามการใช้ยาในผู้ป่วยที่ดูแลรักษา
แบบประคับประคองและได้รับยากัญชาทางการแพทย์เพื่อผลการรักษาที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัย ป้องกัน
การเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาค้นหาปัญหาจากการใช้ยา และแก้ไขจัดการปัญหาจากการใช้ยาที่เกิดขึ้น
วัตถุประสงค์การศึกษา
• เพื่อศึกษาผลของการบริบาลทางเภสัชกรรมของคลินิกกัญชาทางการแพทย์ต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย
ที่ดูแลรักษาแบบประคับประคอง โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์
• เพื่อค้นหาปัญหาจากการใช้ยาในผู้ป่วยที่ดูแลรักษาแบบประคับประคองในคลินิกกัญชาทางการแพทย์
โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์
• เพื่อประเมินความพึงพอใจต่อการบริบาลทางเภสัชกรรมของคลินิกกัญชาทางการแพทย์ในผู้ป่วย
ที่ดูแลรักษาแบบประคับประคอง โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์
วิธีการศึกษา
การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยที่ดูแลรักษาแบบประคับประคอง
ในคลินิกกัญชาทางการแพทย์ที่ได้รับการตรวจและประเมินจากแพทย์แผนปัจจุบันแล้วว่าควรได้รับการรักษา
ด้วยยาสารสกัดน้ำมันกัญชาทางการแพทย์และยินยอมให้เก็บข้อมูล การเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้การสุ่ม
ตัวอย่างแบบเจาะจง มีระยะเวลาในการดำเนินการวิจัย คือ 1 ตุลาคม 2563 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2566 จำนวน
31 คน เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบบันทึกการบริบาลทางเภสัชกรรมคลินิกกัญชาทางการแพทย์, แบบสอบถาม
คุณภาพชีวิต, แบบบันทึกปัญหาที่เกี่ยวกับยา และแบบสัมภาษณ์ความพึงพอใจ โดยการวิเคราะห์ข้อมูลปัจจัย
ส่วนบุคคล, คุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ปัญหาเกี่ยวกับการใช้ยา และความพึงพอใจ โดยการแจกแจงความถี่
ร้อยละค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ Wilcoxon signed-rank test โดย
กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ค่า p<0.05
ผลการศึกษา