Page 76 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 76

B4


                                  ค่าคะแนนคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่ของหนองบัวลำภู


                                   เพื่อนำมาส่องกล้องลำไส้ใหญ่ในราย  ที่มีเลือดแฝงในอุจจาระ
                       Nongbualamphu score before screening colonoscopy in case Fit test positive
                                                                      ธนวัฒน์ พันธุ์พรหม, รัฐพร ตั้งเพียร, สุริยา คุณาชน,

                                                                            พิชัย สุวัฒนพูนลาภ, สุภาภรณ์ พิณพาทย์
                                                                           โรงพยาบาลหนองบัวลำภู เขตสุขภาพที่ 8
                                                                                               ประเภท วิชาการ

                  ความสำคัญของปัญหา
                         การคัดกรองเพื่อหามะเร็งลำไส้ใหญ่สามารถทำโดยการตรวจหาเลือดในอุจจาระ (Fecal immunochemical
                  test, FIT)  เป็นวิธีการตรวจที่ง่าย, สะดวก, ประหยัด นอกจากนี้ยังมีการนำข้อมูลพื้นฐานทางคลินิกและปัจจัย
                  เสี่ยงต่าง ๆ ได้แก่ เบาหวาน, น้ำหนัก, การดื่มสุรา มาจัดทำคะแนนการคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่

                  ได้แก่  The Asia-Pacific Colorectal Screening (APCS) score,  Colorectal Neoplasia Predict (CNP)
                  score,  Korean Colorectal Screening (KCS) score, Modified APCS score, 8 Points Risk (8 PR)
                  score ซึ่งแต่ละวิธีมีความไว, ความจำเพาะที่แตกต่างกัน
                         ปัจจุบันแผนพัฒนางานสาขามะเร็งของประเทศไทย ได้กำหนดให้มีการคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ในคนไทย

                  ทุกคนที่อายุ >50 ปี โดยการตรวจหาเลือดแฝงในอุจจาระ และถ้าหากมีเลือดแฝงจะนำมาส่องกล้องลำไส้ใหญ่
                  ดังนั้น จ.หนองบัวลำภูมีประชากรอายุ >50 ปีประมาณ 125,000 ราย และถ้าหากนำอัตราการคัดกรอง FIT
                  ที่พบเลือดแฝงในอุจจาระร้อยละ 8.7  ทำให้จำนวนที่ต้องนำมาส่องกล้องเพื่อยืนยันประมาณ  13,000 ราย
                  ซึ่งเกินความสามารถที่จะทำได้  ผู้วิจัยจึงมีแนวคิดนำค่าคะแนนทุกชนิดมาจัดทำค่าคะแนนคัดกรองความเสี่ยง

                  มะเร็งลำไส้ใหญ่ของหนองบัวลำภู (Nongbualamphu:NB score) ขึ้นใหม่ แล้วนำมาคัดกรองอีกชั้นหนึ่งในราย
                  ที่มีผลเลือดแฝงในอุจจาระเพื่อนำมาใช้จัดลำดับในการส่องกล้องลำไส้ใหญ่
                  วัตถุประสงค์การศึกษา

                         1. จัดทำคะแนนคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่ของหนองบัวลำภู (Nongbualamphu:NB score)
                         2. ศึกษาเปรียบเทียบความเหมาะสมค่าคะแนน APCS score และ NB score เพื่อนำมาช่วยคัดกรอง
                  อีกชั้นหนึ่งก่อนการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ แล้วนำมาจัดลำดับการส่องกล้องลำไส้ใหญ่

                  วิธีการศึกษา การวิจัยเชิงวินิจฉัยแบบภาคตัดขวาง ในรายอายุ > 50 ปีที่คัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่โดยการตรวจ
                  อุจจาระแล้วพบผลการตรวจเลือดแฝงในอุจจาระและได้ส่องกล้องลำไส้ใหญ่สำเร็จ ระหว่าง 1 ม.ค.-31 ธ.ค.2566

                  จำนวน 362 ราย จากนั้นนำผลการส่องกล้องมาประเมินความเหมาะสมการนำ APCS score และ NB score
                  มาใช้คัดกรองอีกชั้นหนึ่งในรายที่มีผลเลือดแฝงในอุจจาระ
                         วิธีการทำคะแนนและแบ่งกลุ่ม NB score เมื่อคำนวณ APCS score, BMI and APCS score,
                  Alcohol and APCS score, CNP score, KCS score และ 8 PR score แล้วเข้าเกณฑ์กลุ่มเสี่ยงสูงจะกำหนดให้

                  ข้อละ 1 คะแนน แต่ถ้าไม่เข้าเกณฑ์กลุ่มเสี่ยงสูงจะให้ 0 คะแนน ดังนั้นจะมีคะแนนที่เป็นไปได้ในแต่ละรายคือ
                  0-6 คะแนน แล้วแบ่งกลุ่ม NB score เป็นกลุ่มเสี่ยงต่ำมี 0-2 คะแนน, กลุ่มเสี่ยงปานกลางมี 3-4 คะแนน, กลุ่ม
                  เสี่ยงสูงคือมี 5-6 คะแนน,กลุ่มเสี่ยงปานกลางและเสี่ยงสูงคือมี 3-6 คะแนน

                  ผลการศึกษา พบ advance colorectal neoplasia (ACN) 18.78% (colorectal cancer  5.52%,
                  advance adenoma 13.26%) และในรายที่มี NB score กลุ่มเสี่ยงปานกลางและเสี่ยงสูงทำให้ผลส่องกล้อง

                  ลำไส้ใหญ่แล้วพบ ACN สูงสุด 47.17%  โดยเป็นผลบวกจริง13.81% และมีผลลบลวง (เป็น ACN แต่ตรวจไม่พบ)
   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81