Page 71 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 71
A47
เสียชีวิตหรือกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดถาวร ซึ่งการรักษาที่ถูกต้องและรวดเร็วโดยการเปิดหลอดเลือด
ด้วยยาละลายลิ่มเลือดหรือการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนจะช่วยลดความพิการและอัตราการเสียชีวิต
ลงได้ การศึกษาครั้งนี้มีข้อจำกัด เนื่องจากเป็นการศึกษาย้อนหลังจากเวชระเบียนซึ่งจะมีข้อมูลปัจจัยที่ศึกษา
ไม่ครบถ้วนและครอบคลุม ทำให้ทราบผลการศึกษาเฉพาะปัจจัยที่มีข้อมูลยังขาดปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้อง อย่างไร
ก็ตาม การศึกษาครั้งนี้สามารถให้คำตอบในปัจจัยบางประการโดยปัจจัยเสี่ยงที่สามารถปรับเปลี่ยนได้
ในการเข้าถึงบริการที่ล่าช้าของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิดเอสทียกสูง ใช้เป็นแนวทางในการ
ค้นหาสาเหตุปัจจัยที่ทำให้ผู้ป่วยมารับบริการล่าช้าเพื่อนำไปพัฒนา ลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตในผู้ป่วย
โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันได้ในที่สุด
สรุปและข้อเสนอแนะ
จากผลการวิจัยผู้วิจัยมีความเห็นว่าปัจจัยที่สามารถปรับปรุงและบริหารจัดการได้ทันที คือ การเข้าถึง
การรับบริการที่ล่าช้าโดยการประชาสัมพันธ์ด้วยวิธีการต่าง ๆ ผ่านทางบุคลากรที่รับผิดชอบงาน ทางด้าน
Service Plan สาขาหัวใจ ในจังหวัดปราจีนบุรี เพื่อให้ประชาชนได้รู้จักอาการของโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย
เฉียบพลัน ความจำเป็นที่ต้องรีบเข้าระบบเพื่อทำการรักษาพยาบาลอย่างทันท่วงที โดยเน้นในกลุ่มของผู้สูงอายุ
จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันได้ รวมทั้งการศึกษาปัจจัยอื่น ๆ
ที่อาจมีความสัมพันธ์กับการตายในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ชนิดเอสที ยกสูง เพื่อช่วยป้องกัน
หรือลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันได้ดียิ่งขึ้น