Page 74 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 74
B2
การทำงานเชิงรุกในระยะแรกทำให้ทราบสถานการณ์และอุบัติการณ์ของผู้ป่วยทำให้มีการวางแผนและ
จัดบริการให้แก่ผู้ป่วยระยะต่างๆได้ดีขึ้น ส่งผลให้ผู้ป่วยสามารถเข้าสู่ระบบการรักษาได้เร็วขึ้น ระหว่างดำเนิน
โครงการทีมแพทย์พระปกเกล้าได้พัฒนาแนวทางการดูแลและส่งต่อผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง ทดลองใช้
และปรับปรุงเป็นระยะเพื่อให้ได้ขั้นตอนการทำงานที่สามารถปฏิบัติได้จริง เหมาะสมกับคนไทยและบริบทของ
โรงพยาบาลในจันทบุรี (รูป 1) จากกระบวนการรักษาตามแนวทางนี้ คาดว่าผู้ป่วยจะเข้าถึงบริการการรักษาได้
เร็วขึ้นจากเดิมประมาณ 6 เดือน เป็น 6 สัปดาห์ และผลการดำเนินงานคัดกรองผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบี ระหว่าง
ตุลาคม 2565 - พฤศจิกายน 2566 กลุ่มเสี่ยงจำนวน 29,908 ราย พบ HBsAg positive ร้อยละ 5.13
ผู้ให้ข้อมูล เห็นตรงกันว่า ปัจจัยสำคัญที่สุดที่ส่งผลต่อการดำเนินงาน คือ ความมุ่งมั่น ศักยภาพ และความ
ร่วมมือภายในของทีมแพทย์โรงพยาบาลพระปกเกล้า นอกจากนี้ ยังมีภาวะผู้นำของหัวหน้าโครงการ และความ
ร่วมมือ/การสนับสนุนจาก สสจ. และจากการดำเนินโครงการที่ผ่านมา ผู้ปฏิบัติงานใน รพช. พบปัญหาหลาย
ประการ เช่น ขาดผู้รับผิดชอบหลักหรือไม่ได้จัดตั้งคณะทำงานอย่างเป็นทางการ ใน รพช.บางแห่ง จึงส่งผล
กระทบต่อการทำงาน การติดตามและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง, การสื่อสารและการส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยระหว่าง
รพช. และศูนย์นัดหมาย ทำให้เกิดความล่าช้าในกระบวนการส่งต่อ, การสื่อสารนโยบายที่ชัดเจนจากผู้บริหาร,
การติดตามผู้ป่วย และปัญหาด้านงบประมาณในการตรวจ viral load ซึ่งผู้ป่วยบางรายไม่สามารถจ่ายเองได้
จึงไม่ได้เข้าสู่กระบวนการรักษา ในขณะที่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เห็นว่าอุปสรรคสำคัญ คือความพร้อมด้านการ
ผ่าตัดเปลี่ยนตับของโรงพยาบาลพระปกเกล้า
มีข้อเสนอแนะจากการสัมภาษณ์หลายประการ แต่ในระยะแรกควรพิจารณาข้อที่จำเป็นเพื่อพัฒนากระบวนการ
ทำงาน ได้แก่
1) ควรจัดตั้งหน่วยงานหรือคลินิกอย่างเป็นรูปธรรมใน รพช. รวมทั้งกำหนดให้มีพยาบาลเป็น
manager หรือ coordinator เพื่อดูแลรับผิดชอบ
2) เตรียมพร้อมด้านบุคลากรให้มีทักษะและความรู้ในการปฏิบัติงาน เช่น การจัดอบรมบุคลากร
การแพทย์ที่เกี่ยวข้อง
3) จัดหางบประมาณเพื่อใช้ในกระบวนการรักษา เช่น จัดซื้อเครื่องมือและอุปกรณ์ที่จำเป็น (เช่น
เครื่องอัลตราซาวด์ เครื่องจี้ และเข็ม)
4) จัดทำคู่มือปฏิบัติงาน ก. Guideline การดูแลรักษาและส่งต่อผู้ป่วยสำหรับแพทย์ และ ข.
Protocol ของโครงการ เพื่อให้มีแนวปฏิบัติในทางเดียวกัน
นอกจากนี้ ควรพัฒนาระบบข้อมูลที่สามารถเชื่อมต่อข้อมูลผู้ป่วยระหว่างเครือข่ายเพื่อให้เกิดการใช้
อย่างมีประสิทธิภาพ การสร้างความตระหนักในคนกลุ่มเสี่ยงให้เห็นความสำคัญของการคัดกรองและ
กระบวนการรักษา
อภิปรายผล
ส่วนใหญ่การรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งตับมักเป็นไปตามคิวของการรักษา มีระยะเวลารอคอยเร็วช้าต่างกันไป
แต่หากระยะเวลารอนานอาจทำให้มีอาการหรือระยะที่รุนแรงขึ้น ดังนั้น การที่ผู้ป่วยได้รับการคัดกรอง วินิจฉัย
และเข้าสู่กระบวนการรักษาที่มีคุณภาพ และทันเวลา จึงสำคัญมาก โครงการ EZ Liver Network มุ่งค้นหา
กลุ่มเสี่ยง จากนั้นนำเข้าสู่กระบวนการรักษาที่เหมาะสมกับระยะของโรค จะช่วยแก้ปัญหาได้อย่างดียิ่ง อย่างไร
ก็ตาม การออกแบบรูปแบบหรือกระบวนการทำงาน จำเป็นต้องมองทั้งระบบ ตั้งแต่ทรัพยากรที่ต้องใช้
(กำลังคนทั้งในแง่จำนวนและศักยภาพ งบประมาณ และอุปกรณ์/เครื่องมือทางการแพทย์ ระบบเทคโนโลยี
สารสนเทศ) กระบวนการ (ด้านการบริหารจัดการและการให้บริการรักษา) และที่สำคัญคือผลลัพธ์ที่คาดหวัง