Page 80 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 80

B8


                             Cancer Data Tracking ระบบติดตามกลุ่มเสี่ยงมะเร็งให้ได้รับการตรวจโดยเร็วที่สุด


                                               คณะผู้วิจัย งานเทคโนโลยีสารสนเทศ  สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์

                                                                                    จังหวัดบุรีรัมย์ เขตสุขภาพที่ 9
                                                                                ประเภท นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์


                  ความสําคัญของปัญหาวิจัย
                         ในปัจจุบันจังหวัดบุรีรัมย์มีประชากรที่เป็นกลุ่มเป้าหมายที่ต้องได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเป็น

                  จำนวนมาก โดยวิธีการตรวจคัดกรอง คือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ออกไปคัดกรองเชิงรุก ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ
                  ของหน่วยบริการนั้น หรือทำการประชาสัมพันธ์ประชาชนในเขตพื้นที่บริการเข้ามาตรวจคัดกรองที่โรงพยาบาล
                  ส่งเสริมสุขภาพตำบล เมื่อทำการตรวจและได้ผลตรวจเรียบร้อยแล้ว เจ้าหน้าที่จะบันทึกผลการคัดกรองลงใน

                  ระบบ HIS (ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล ) และทำการติดตามผู้ที่มีผลคัดกรองผิดปกติ เพื่อทำการแจ้งผลการ
                  คัดกรองและติดตามให้ไปตรวจ หามะเร็งโดยละเอียดอีกครั้ง

                  ปัญหาที่พบในปัจจุบัน คือ วิธีการติดตามประชาชนผู้ที่มีผลคัดกรองผิดปกติยังไม่มีรูปแบบที่ชัดเจน ส่งผลให้
                  การส่งต่อผู้ที่มีผลคัดกรองผิดปกติไปตรวจหามะเร็งโดยละเอียดมีความล่าช้า ไม่ครบถ้วนทุกคน ในส่วนของ
                  ประชาชนคัดกรองผิดปกติถูกติดตามโดยเจ้าหน้าที่ก็จะละเลยเข้ามาตรวจหามะเร็งโดยละเอียดที่โรงพยาบาล

                  จากปัญหาข้างต้นส่งผลให้ เกิดการรักษาที่ล่าช้าทำให้เป็นมะเร็งในที่สุด แต่หากตรวจพบเร็วก็จะรักษาได้เร็ว

                  วัตถุประสงค์การศึกษา
                         เนื่องจากในปัจจุบัน  วิธีการติดตามประชาชนผู้ที่มีผลคัดกรองผิดปกติยังไม่มีรูปแบบที่ชัดเจน ส่งผลให้
                  การส่งต่อผู้ที่มีผลคัดกรองผิดปกติไปตรวจหามะเร็งโดยละเอียดมีความล่าช้า จึงได้ทำการวิจัยเพื่อพัฒนา ระบบ

                  Cancer Data Tracking วัตถุประสงค์เพื่อ รวบรวมข้อมูลการคัดกรองผู้ป่วยมะเร็ง ของทั้งจังหวัดมาไว้เพื่อนำ
                  ข้อมูลมาบริหารจัดการ ให้เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบงานมีระบบรายงานข้อมูลผลการคัดกรองของประชาชน

                  กลุ่มเป้าหมายได้ มีระบบติดตามประชาชนผู้ที่มีผลคัดกรองผิดปกติเป็นรายบุคคล เพื่อให้เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ
                  ดำเนินการติดตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าถึงบริการ โดยมีระบบแจ้งเตือน
                  ให้เดินทางมาตรวจหามะเร็งโดยละเอียด ให้กับประชาชนที่มาคัดกรอง และมีผลการคัดกรองที่ผิดปกติผ่านแอป

                  พลิเคชัน ไลน์ หมอพร้อม

                  วิธีการศึกษา
                         แบบการวิจัยเป็นแบบการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่ต้องเข้ารับการ

                  คัดกรองมะเร็ง ทั้ง 23 อำเภอในจังหวัดบุรีรัมย์ ระยะเวลาที่ศึกษา เดือน มีนาคม ปี 2566 ถึง เดือนมีนาคม
                  ปี 2567 กิจกรรมประกอบด้วย 1) เชิญผู้รับผิดชอบงานมะเร็งมาประชุมเพื่อให้นำปัญหามารวบรวมในที่ประชุม
                  เมื่อรับทราบปัญหาแล้วทางทีมพัฒนาระบบก็จะนำเสนอ รูปแบบของระบบ และแลกเปลี่ยนขอความคิดเห็น

                  จากผู้ใช้เพื่อจะช่วยในการทำงานของระบบให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น 2) วิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้งาน
                  3) ออกแบบระบบในส่วนของ UX/UI  4) เริ่มเขียนโปรแกรมตามที่ออกแบบไว้ 5) ทดสอบใช้งาน ปรับปรุง
                  แก้ไขปัญหาที่เจอระหว่างทดสอบ 6. เปิดให้ผู้ใช้ได้ใช้งานจริง เริ่มเก็บข้อมูลลงในระบบ โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วย

                  สถิติเชิงพรรณนา
   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85