Page 769 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 769
S24
ระดับความร้อนที่อุณหภูมิต่างกัน ระยะเวลาในการสะตุต่างกัน ณ อาคารผลิตยาสมุนไพร โรงพยาบาลพระ
อาจารย์ฝั้น อาจาโร
กระบวนการผลิตตำรับยาแผนไทยเข้ากัญชา 20 ตำรับ ทำการศึกษาโดยการผสมผสานกระบวนการ
ผลิตตามหลักการเภสัชกรรมไทยร่วมกับการใช้ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีเภสัชกรรมแผนปัจจุบันผลิตตำรับยา
โดยมีการควบคุมคุณภาพกระบวนการผลิตตั้งแต่ต้นทาง-กลางทาง-ปลายทาง และกระบวนการประกันคุณภาพ
ตำรับยาแผนไทยสำเร็จรูปโดยองค์กรภายนอกคือศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 8 อุดรธานี ก่อนส่งมอบตำรับ
ยาต่างๆแก่สถานพยาบาลทั่วประเทศและผู้รับบริการทั่วประเทศ นอกจากนี้ยังรวบรวมองค์ความรู้จาก
กระบวนการผลิตตำรับยาแผนไทยเข้ากัญชามาจัดทำเอกสารการผลิตและการประกันคุณภาพ (SOP)
กระบวนการสั่งจ่ายตำรับยาแผนไทยเข้ากัญชา ทำการตรวจวินิจฉัยโดยแพทย์แผนปัจจุบัน และ/หรือ
การตรวจตามสมุฏฐานวินิจฉัยโรคโดยแพทย์แผนไทยตามแนวทางการสั่งใช้ยา (CPG) ร่วมกับการติดตาม
ผลลัพธ์ทางคลินิกร่วมกับอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาในผู้รับบริการตลอดระยะเวลาการใช้ตำรับยา
แผนไทยเข้ากัญชาโดยเภสัชกร
กระบวนการวิจัยการใช้ประโยชน์กัญชาทางการแพทย์ ทำการศึกษาโดยการขอจริยธรรมการวิจัย
เพื่อติดตามและเก็บข้อมูลผู้รับบริการทุกรายที่มีการสั่งจ่ายตำรับยาแผนไทยเข้ากัญชาเพื่อประเมินประโยชน์
และความปลอดภัย นำข้อมูลที่ได้มาพิจารณาแนวทางการสั่งจ่ายยาของโรงพยาบาลต่อไป
ผลการศึกษา
ด้านกระบวนการปลูก : กัญชาสายพันธุ์ไทย (หางกระรอกและฝอยทอง) สามารถปลูกในและ
นอกโรงเรือน ปลูกได้ทั่วประเทศและทุกฤดูกาล สิ่งที่ต้องระวังคือ ปริมาณแสง แร่ธาตุในดิน การให้น้ำ และศัตรูพืช
ส่วนที่ใช้ปรุงยาประกอบด้วยส่วนใบควรมีอายุในช่วง 1.5-2 เดือนและส่วนช่อดอกกัญชาควรมีอายุ 3.5-4 เดือน
จะมีปริมารสารสำคัญมากที่สุด
ด้านกระบวนการแปรรูปวัตถุดิบ : ใบกัญชาและช่อดอกกัญชาที่ผ่านการสะตุ (Decarboxylation)
จะมีการเปลี่ยนสารสำคัญจาก THCA และ CBDA เป็น THC และ CBD ที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส
เป็นเวลา 30 นาที (ในตู้อบ) หรือที่ความร้อน 100 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 5 นาที (กระทะทองเหลือง)
ซึ่งหากนานกว่านี้จะเกิดสาร CBN เพิ่มมากขึ้น THC และ CBD จะลดลง
ด้านกระบวนการผลิตตำรับยาแพทย์ไทย : ใช้กระบวนการทางเภสัชกรรมไทยผสมผสานเทคโนโลยี
ทางเภสัชกรรมเพื่อแก้ปัญหาการกระจายตัวของผงยา การเข้ากันของวัตถุดิบต่างๆและการไหลของผงยา
ที่อาจจะทำให้ยาไม่มีความสม่ำเสมอกันในระหว่างการผลิต ได้ตำรับยาแผนไทยเข้ากัญชาที่มีคุณภาพกระจาย
ให้สถานพยาบาลกว่า 400 แห่งทั่วประเทศ และได้เอกสารคู่มือกระบวนการผลิตและประกันคุณภาพตำรับยา
แผนไทยเข้ากัญชา 20 ตำรับ เผยแพร่ให้กับโรงพยาบาลที่มีโรงงานผลิตยาสมุนไพร (WHO-GMP) กว่า 60 แห่ง
ทั่วประเทศ
ด้านการใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ : การสั่งจ่ายตำรับยาแผนไทยเข้ากัญชาในโรงพยาบาลและ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 14 แห่ง พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ตอบสนองต่อการใช้ยาและมีความพึงพอใจ
ในระดับดี - ดีมาก ไม่พบอาการข้างเคียงที่รุนแรง (Serious ADR) อาการข้างเคียงที่พบบ่อยที่สุดคือ วิงเวียน
หัวใจเต้นเร็ว แสบร้อนยอดอก และง่วงนอนตามลำดับ
ด้านการศึกษาวิจัยประสิทธิผลและความปลอดภัย : พบว่าตำรับยาศุขไสยา ช่วยให้ผู้ป่วยนอนหลับ
ดีขึ้น (PQSI Score) และเจริญอาหารมากขึ้น ตำรับยาแก้ลมแก้เส้น สามารถบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ
ส่วนล่าง มีคะแนน Pain Score ลดลง ตำรับยาทำลายพระสุเมรุ สามารถลดอาการปวด อาการชาปลายมือ
ปลายเท้า ตำรับยาทาริดสีดวงและโรคผิวหนัง สามารถลดความรุนแรงของริดสีดวงและอาการผื่นคันผิวหนัง