Page 764 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 764
S19
วิชาชีพ 2 คน แพทย์แผนไทย 1 คน นักวิชาการสาธารณสุข 1 คน ผู้ป่วยประคับประคองที่ได้รับคำแนะนำการ
ใช้ตำรับยาแผนไทยที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ 6 คน และญาติผู้ป่วย 6 คน 2) ระยะการพัฒนา กลุ่มตัวอย่างเดิม
3) ระยะประเมินผล การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองต่อการเข้าถึงตำรับยากัญชา
ทางการแพทย์ โรงพยาบาลนาเชือก อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม ประเมินผลลัพธ์การพัฒนาระยะเวลา
ดำเนินการวิจัยระหว่าง เดือนตุลาคม 2565 ถึงเดือนกันยายน 2566
เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา : การวิจัยเชิงปฏิบัติการ 4 ขั้นตอน
(PAOR) ประกอบด้วย 1) การวางแผน(Planning) 2) การปฏิบัติ (Action) 3) การสังเกต (Observation) และ
4) การสะท้อนผล (Reflection) และแบบสนทนากลุ่มเพื่อศึกษาสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และเครื่องมือที่ใช้
ประเมินผลลัพธ์ : 1) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วย 2) แบบประเมินความพึงพอใจของครอบครัว
3) แนวทางการสัมภาษณ์ผู้ป่วยและญาติ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน
ขั้นตอนดำเนินการวิจัย 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การวิเคราะห์สถานการณ์ เก็บรวบรวมข้อมูลศึกษา
ฐานข้อมูลต่างๆ 1) ด้านระบบบริการสุขภาพ 2) ด้านฐานข้อมูลสุขภาพ 3) ด้านการสนับสนุนการตัดสินใจ
4) ด้านการสนับสนุนการจัดการจนเอง 5) ด้านการจัดบริการเชื่อมโยงชุมชน ,ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบ
การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองต่อการเข้าถึงตำรับยากัญชาทางการแพทย์ ใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการ
4 ขั้นตอน (PAOR) ดังนี้ 1) วางแผน(Planning) วิเคราะห์สถานการณ์ แต่งตั้งคณะทำงานที่ผ่านการประชุม/
ผ่านการอบรม การประชุมสนทนากลุ่ม 2) ปฏิบัติการ (Action) ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ ประกอบด้วย
การออกแบบระบบบริการสุขภาพ โดยพัฒนากระบวนการออกเชิงรุกดูแลรักษาสุขภาพผู้ป่วยให้ได้รับการรักษา
อย่างต่อเนื่อง มีอาการติดตามอาการผ่าน Line application มีการสนับสนุนแนวทางการเข้าถึงการบริการ
อย่างมีส่วนร่วมของทีมสุขภาพและเครือข่ายบริการสุขภาพ ,จัดระบบฐานข้อมูล ทะเบียนผู้มารับบริการตรงกับ
ผลลัพธ์โปรแกรม HDC และมีการจัดบริการเชื่อมโยงชุมชน 3) การสังเกตผล (Observation) ติดตามและ
เก็บรวบรวมข้อมูล มีการประเมินผลก่อนและหลังการศึกษาวิจัย สังเกตผลการดำเนินงานทุกขั้นตอน
4) สะท้อนผล (Reflection) ประชุมผู้ร่วมวิจัยเพื่อถอดบทเรียนและสรุปผล สรุปผลที่ได้จากการปฏิบัติงาน
การดำเนินงาน สะท้อนปัญหาอุปสรรค และข้อจำกัดในการดำเนินงาน,จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
ถอดบทเรียนและหาแนวทางแก้ไข และ ระยะที่ 3 ศึกษาผลลัพธ์ของการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วย
แบบประคับประคองต่อการเข้าถึงตำรับยากัญชาทางการแพทย์ โดยมีการประเมินจากความพึงพอใจ
ต่อรูปแบบการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองต่อการเข้าถึงตำรับยากัญชาทางการแพทย์
วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา
1) ระยะวิเคราะห์สถานการณ์ พบปัญหามีผู้ป่วยระยะสุดท้ายในชุมชนที่ขาดการเข้าถึงบริการไม่ได้รับ
การดูแลและการจัดการอาการอย่างเหมาะสม 2) ระยะการพัฒนา มีการค้นหาและคัดกรองผู้ป่วยในชุมชน ,
การพัฒนาสมรรถนะบุคลากรที่ให้บริการ ,การพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วย, การทบทวนผู้ป่วยรายกรณี ,
ระบบการติดตามเยี่ยมบ้าน และการส่งต่อผ่าน Line application 3) ระยะประเมินผล พบว่าผู้ป่วยดูแล
แบบประคับประคองมีการติดตามเยี่ยมบ้านโดยทีมสหวิชาชีพในการได้รับการดูแลจัดการอาการไม่สุขสบาย
ที่บ้านเพิ่มมากขึ้น ,สามารถเข้าถึงการรับบริการเพิ่มขึ้น ,ผู้ป่วยและครอบครัวมีความพึงพอใจในบริการ
มีความพึงพอใจในการบริการมากขึ้น