Page 766 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 766
S21
การพัฒนาเครื่องมือประเมินทัศนคติการสั่งจ่ายยาสมุนไพรที่มีส่วนประกอบของกัญชา
ของแพทย์แผนไทยในจังหวัดกาฬสินธุ์
2
1
นางสาวจุฑามาศ ภูนีรับ , นายสหภาพ คำโฮง
กลุ่มงานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ เขตสุขภาพที่ 7
ประเภทวิชาการ
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
กัญชา Cannabis sativa Linn. วงศ์ Cannabaceae เป็นพืชสมุนไพรที่มีสารสำคัญ ในกลุ่ม
Cannabinoids เช่น Cannabidiol (CBD) และ Delta-9-tetrahydrocannabinol (THC) ปัจจุบันมีการบรรจุ
เป็นยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติปี 2566 จำนวน 11 รายการ และมีการส่งเสริมการจัดตั้งคลินิกกัญชา
ทางการแพทย์ ซึ่งผู้มีสิทธิ์สั่งจ่ายยาสมุนไพรประกอบด้วยแพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์แผนไทย ทัศนคติของ
แพทย์แผนไทยมีผลต่อการสั่งจ่าย แนะนำ และดำเนินการเกี่ยวกับยาสมุนไพรที่มีกัญชาเป็นส่วนประกอบ
ทัศนคติของผู้สั่งจ่ายยาสมุนไพรกัญชาน่าจะมีผลต่อการรักษาและให้บริการ เพื่อให้การดำเนินงานคลินิกกัญชา
ทางการแพทย์ทุกแบบในโรงพยาบาลของรัฐมีคุณภาพ มาตรฐานจึงเป็นที่มาของการศึกษาในครั้งนี้
วัตถุประสงค์การศึกษา
เพื่อประเมินทัศนคติของแพทย์แผนไทยต่อการสั่งจ่ายยาสมุนไพรที่มีกัญชาเป็นส่วนประกอบในจังหวัด
กาฬสินธุ์
วิธีการศึกษา
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Study) โดยการพัฒนาเครื่องมือประเมิน
ทัศนคติการสั่งจ่ายยาสมุนไพรที่มีส่วนประกอบของกัญชาของแพทย์แผนไทยในจังหวัดกาฬสินธุ์ แบบสอบถาม
ทัศนคติการสั่งจ่ายยาสมุนไพรที่มีส่วนประกอบของกัญชาชนิดตอบเอง ใช้เวลาตอบประมาณ 5 นาที
ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของแพทย์แผนไทย มีจำนวน 10 ข้อ และส่วนที่ 2 ทัศนคติการ
สั่งจ่ายยาสมุนไพรที่มีกัญชาเป็นส่วนประกอบของแพทย์แผนไทยประกอบด้วย 3 ด้านๆ ละ 5 ข้อ รวม 15 ข้อ
ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือด้วยวิธีศึกษาความตรงให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ศึกษาโดยการหาดัชนี
ความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามและวัตถุประสงค์ (Item Objective Congruence: IOC) และการหา
ความเที่ยงของเครื่องมือ (Reliability) โดยนำเครื่องมือไปทดสอบกับกลุ่มที่มีลักษณะเหมือนกันกับกลุ่มตัวอย่าง
จำนวน 30 คน เพื่อทําการวิเคราะห์ความเชื่อมั่น (Reliability analysis) ด้วยสัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha
coefficient) ของ Cronbach โดยใช้โปรแกรม STATA ซึ่งเป็นวิธีการหาค่าความเที่ยงเพื่อวัดความสอดคล้อง
ภายใน (internal consistency) นำไปใช้กับแพทย์แผนไทยที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลในจังหวัดกาฬสินธุ์
จำนวน 30 คน
ผลการศึกษา
พบว่า เครื่องมือที่พัฒนาขึ้นมีจุดแข็งที่จำนวนข้อคำถามเพียง 25 ข้อ ใช้เวลาในการตอบแบบสอบถาม
สั้นประมาณ 5 นาที ผลการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือด้วยการหาค่าดัชนีความสอดคล้องกันระหว่าง