Page 767 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 767
S22
ข้อคำถามและวัตถุประสงค์การวิจัย (Item Objective Congruence: IOC) กรรมการพิจารณา 3 ท่าน
ประกอบด้วย แพทย์แผนไทย เภสัชกร และนักวิชาการสาธารณสุขได้ค่า Item Objective Congruence: IOC
อยู่ในช่วงตั้งแต่ 0.6 - 1 การหาความเที่ยงของเครื่องมือ (Reliability) ได้ค่า Cronbach’s alpha เท่ากับ 0.93
เครื่องมือมีความสะดวกในการใช้งาน จุดที่ต้องพัฒนา คือ ข้อคำถามบางข้อมี 2 ประเด็นในข้อเดียวกัน
ควรแยกข้อออกจากกันให้ชัดเจน ด้านการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า แพทย์แผนไทยมีภาพรวมระดับทัศนคติ
ต่อการสั่งจ่ายยาสมุนไพรที่มีส่วนประกอบของกัญชาในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง (36.67%) เห็นด้วย (33.33%)
ไม่แน่ใจ (20%) และไม่เห็นด้วย (10%) ตามลำดับ วิเคราะห์รายด้าน พบว่าด้านที่มีทัศนคติเห็นอย่างยิ่งสูงสุด
คือ ด้านที่ 3 ทัศนคติด้านการให้บริการคลินิกกัญชาทางการแพทย์แผนไทย (73.73%) ด้านที่ 1 ทัศนคติด้าน
คุณประโยชน์ของสมุนไพรกัญชา (30%)และด้านที่ 2 ทัศนคติด้านกฎหมายเกี่ยวกับการใช้กัญชา (30%)
ตามลำดับ ส่วนข้อเสนอแนะ การควบคุมการใช้กัญชาและยังมีความกังวลด้านการใช้กัญชาทางการแพทย์
และอยากให้มีข้อกำหนดแนวทางการใช้ที่มีความปลอดภัยเพิ่มขึ้น
อภิปรายผล
การพัฒนาเครื่องมือประเมินทัศนคติของแพทย์แผนไทยต่อการสั่งจ่ายยาสมุนไพรที่มีกัญชา
เป็นส่วนประกอบในจังหวัดกาฬสินธุ์ ทำให้ทราบระดับทัศนคติของแพทย์แผนไทยที่มีต่อการสั่งจ่ายยาสมุนไพร
กัญชา และรูปแบบบริการ ประสบการณ์การให้บริการตลอดจนประสบการณ์การใช้สมุนไพรกัญชาของตนเอง
และบุคลในครอบครัว ข้อเสนอแนะที่เป็นคำถามแบบเปิดให้ผู้ตอบสามารถตอบสิ่งที่ต้องการเสนอแนะได้
เป็นข้อมูลสนับสนุนการวางแผนและพัฒนาการให้บริการคลินิกกัญชาทางการแพทย์ในโรงพยาบาลต่อไป
สรุปและข้อเสนอแนะ
เครื่องมือประเมินทัศนคติการสั่งจ่ายยาสมุนไพรที่มีส่วนประกอบของกัญชาของแพทย์แผนไทย
ในจังหวัดกาฬสินธุ์และผลการวิเคราะห์ข้อมูล สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาคลินิกกัญชาทางการแพทย์
และพัฒนาบุคลากรแพทย์แผนไทยผู้ให้บริการต่อไปได้