Page 772 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 772

S27


                         1. ประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน เพื่อทบทวนผลการดำเนินงานปีที่ผ่านมา ค้นหาสาเหตุปัญหา
                  วิเคราะห์ปัญหา ระดมความคิด วางแผนการดำเนินงานการพัฒนาการเข้าถึงบริการคลินิกกัญชาการแพทย์
                  แบบบูรณาการ และกำหนดกลุ่มเป้าหมายเป็น ผู้ป่วย Palliative care ที่มีอาการตามข้อบ่งใช้

                         2. ค้นหาผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมาย โดยประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง Nurse case manager
                  กลุ่มโรคมะเร็ง, กลุ่มผู้ป่วย Palliative (คลินิกแท่นการุณรักษ์), ศูนย์ COC และปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงาน
                  โดยออกให้บริการเชิงรุกในรูปแบบ One stop Service ที่ชุมชน เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายเข้าถึงบริการลำบาก
                  ด้วยสภาพปัญหาการเจ็บป่วย และพิจารณาจ่ายยากัญชาทางการแพทย์ ตามข้อบ่งใช้ในผู้ป่วยแต่ละราย
                         3. ติดตามข้อมูลผลการดำเนินงานตามรายงานระบบคลังข้อมูลสุขภาพ Health Data Center (HDC)

                  สรุปผลการดำเนินงานและปัญหา อุปสรรค ทุก 3 เดือน
                         4. จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์การจัดบริการกัญชาทางการแพทย์ และประสานงานภาคีเครือข่ายคณะ
                  ดำเนินงานผ่าน Line official group เพื่อรายงานข้อมูลผู้ป่วย ปรึกษา ส่งต่อ ติดตามการดำเนินงาน เพื่อความ

                  สะดวก รวดเร็ว และพัฒนาระบบการเข้าถึงบริการกัญชาทางการแพทย์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

                  ผลการศึกษา/การประเมินผลการเปลี่ยนแปลง

                       ตัวชี้วัด (Indicators)       เป้าหมาย         2564      2565        2566        2567
                                                                                                     (ต.ค.66-

                                                                                                     มี.ค.67)
                    1.  จำนวนผู้ป่วยทั้งหมดที่  เพิ่มขึ้น 50 %     (13 ราย)  115.38%  323.07%  169.23%
                       เข้าถึงกัญชาทางการแพทย์   (เทียบจาก ปีงบ               (28ราย)     (55ราย)     (35ราย)

                                                2564)
                    2.  ร้อยละผู้ป่วย  Palliative  > ร้อยละ 7         NA       3.85%      3.77%      13.58%
                       care  ที่ได้รับการรักษาด้วย > ร้อยละ 10                 (2/52      (4/106      (11/81
                       ยากัญชาทางการแพทย์       (ไตรมาส 2                       ราย)       ราย)        ราย)
                                                ปีงบ 2567)

                    3.  ร้อยละของผู้ป่วยมะเร็งที่  ร้อยละเพิ่มขึ้น    NA       2.40%      1.30%       3.66%
                       ได้รับการรักษาด้วยยา                                    (5/205     (3/231      (6/164
                       กัญชาทางการแพทย์                                         ราย)       ราย)        ราย)

                    4.  อาการ/อุบัติการณ์ไม่พึง  0                     0         0           0          0
                       ประสงค์หลังจากใช้ยา
                       กัญชาทางการแพทย์


                  อภิปรายผล
                         จากผลการการเปลี่ยนแปลงหลังจากพัฒนางาน จะเห็นได้ว่า การเข้าถึงบริการกัญชาทางการแพทย์
                  มีผู้รับบริการเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบจากปีงบประมาณ 2564 คิดเป็นร้อยละ 169.23% กลุ่มผู้ป่วย Palliative care
                  ได้รับการรักษาด้วยยากัญชาทางการแพทย์จำนวน 11 ราย คิดเป็นร้อยละ 13.58%  เพิ่มขึ้นและผ่านเกณฑ์

                  เป้าหมายของกระทรวงสาธารณสุข (เป้าหมาย 7%) และไม่พบรายงานการอาการ/อุบัติการณ์ไม่พึงประสงค์
                  หลังจากใช้ยากัญชาทางการแพทย์
   767   768   769   770   771   772   773   774   775   776   777