Page 768 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 768

S23

                    การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการการใช้ประโยชน์กัญชาทางการแพทย์อย่างครบวงจร

                    ปลูก แปรรูป ผลิต สั่งจ่าย และการวิจัยทางการแพทย์ โรงพยาบาลพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร


                           พิพัฒพงศ์ ป้อมไชยา ศศิพงค์ ทิพย์รัชดาพร กัญญาภัค ศิลารักษ์ สถาพร กองธรรม ภุชงค์ เพ็ชรศักดิ์
                                                    สมฤทัย บุญญาวรรณ จริยา สีทา จิรัชยา สมรักษ์ ปรียานุช สุริยวิทยะ
                                                                 โรงพยาบาลพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร  เขตสุขภาพที่ 8
                                                                                               ประเภทวิชาการ


                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย
                         นโยบายการนำกัญชามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ เริ่มต้นขึ้นในปี 2561 โดยมุ่งเน้นให้หน่วยบริการ

                  ของรัฐได้แก่ โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน มีการนำตำรับยาแผนไทยที่มีกัญชา
                  เป็นส่วนผสมมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์จำนวน 16 ตำรับและทำการรวบรวมตำรับยาหมอพื้นบ้านที่มีกัญชา
                  เป็นส่วนผสมเพื่อรวบรวมเป็นฐานข้อมูลองค์ความรู้การใช้กัญชาของประเทศ
                         จนกระทั่งปี 2565 ประกาศกระทรวงสาธารณสุขมีการปลดล๊อคกัญชาออกจากบัญชียาเสพติด ทำให้
                  ประชาชนและผู้สนใจที่จะใช้กัญชาเข้าถึงกัญชาในประเด็นการปลูกและใช้ดูแลสุขภาพและรักษาโรคได้

                  เพิ่มมากขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบในเรื่องของการหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกระบวนการปลูกกัญชาอย่างไรให้ได้ผลดี
                  การแปรรูปอย่างไรจึงได้สารสำคัญที่สูง ตลอดจนกระบวนการผลิตเพื่อควบคุมคุณภาพ การใช้ประโยชน์
                  ทางการแพทย์ในโรคต่างๆและการศึกษาวิจัยตำรับยากัญชาทางการแพทย์ของไทย

                  วัตถุประสงค์การศึกษา
                  1.เพื่อศึกษากระบวนการปลูกกัญชาให้มีปริมาณสารสำคัญสูง มีคุณภาพและปราศจากสารปนเปื้อน

                  2.เพื่อศึกษากระบวนการแปรรูปวัตถุดิบกัญชาตามหลักการเภสัชกรรมไทยและเทคโนโลยีเภสัชกรรม
                  3.เพื่อศึกษากระบวนการผลิตตำรับยาแพทย์ไทยเข้ากัญชาให้มีคุณภาพตามมาตรฐาน WHO-GMP
                  4.เพื่อศึกษาผลลัพธ์ของการนำตำรับยาแผนไทยเข้ากัญชามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์

                  5.เพื่อศึกษาวิจัยประสิทธิผลและความปลอดภัยจากการใช้ตำรับกัญชาทางการแพทย์ในผู้ป่วยนอก

                  วิธีการศึกษา
                         กระบวนการปลูก กระบวนการสั่งจ่ายยาและการวิจัยทางคลินิก ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงสังเกตแบบ
                  ไปข้างหน้า (Prospective Observational Study) กระบวนการแปรรูปและกระบวนการผลิต ใช้รูปแบบการ
                  วิจัยเชิงทดลอง (Experimental Study) โดยมีรายละเอียดการศึกษาวิจัยดังนี้

                         กระบวนการปลูกกัญชา ทำการศึกษาเก็บข้อมูลการปลูกตั้งแต่กระบวนการเตรียมดิน เตรียมแปลง
                  เตรียมโรงเรือนและกระบวนการเก็บเกี่ยวผลผลิต ใบและช่อดอกกัญชาเพื่อตรวจหาปริมาณสารสำคัญ
                  สารสิ่งปนเปื้อนได้แก่ โลหะหนักและสารปราบศัตรูพืช ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระ
                  เกียรติจังหวัดสกลนคร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตพังโคน จังหวัดสกลนคร และ

                  กลุ่มวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่จังหวัดสกลนครจำนวน 10 แห่ง
                         กระบวนการแปรรูปกัญชา ทำการศึกษาโดยสุ่มตัวอย่างวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตตำรับยาแผนไทย
                  เข้ากัญชา ได้แก่ ใบ และ ช่อดอกกัญชา เพื่อตรวจหาปริมาณสารสำคัญในแต่ละช่วงระยะเวลาของการปลูก

                  ร่วมกับวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่จังหวัดสกลนคร และปริมาณสารสำคัญของการสะตุ (Decarboxylation) ใน
   763   764   765   766   767   768   769   770   771   772   773