Page 771 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 771
S26
การพัฒนาระบบบริการคลินิกกัญชาทางการแพทย์แบบบูรณาการโรงพยาบาลบ้านแท่น
นายพงษ์ธนวัฒน์ แต่งภูมิ แพทย์แผนไทยชำนาญการ ,นางอาจารี สถานเมือง เภสัชกรชำนาญการ
นางสุชิลา คงประดิษฐ ,นางสาวพรพิมล จินดามาตย์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
และทีมคลินิกกัญชาทางการแพทย์แบบบูรณาการ
โรงพยาบาลบ้านแท่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ เขตสุขภาพที่ 9
ประเภทนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
กัญชา (Cannabis sativa L.) ได้รับการยกเว้นโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขในราชกิจจานุเบกษา
จากการเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 ให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ได้อย่างถูกกฎหมาย
โดยกระทรวงสาธารณสุขได้มีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนการใช้กัญชาทางการแพทย์ ซึ่งกำหนดให้มีการ
พัฒนาระบบบริการสุขภาพสาขาการใช้กัญชาทางการแพทย์ (Medical Cannabis Service Plan) เพื่อเป็น
ทางเลือกในการรักษาโรคและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงบริการให้กับประชาชน ผ่านขั้นตอนและกระบวนการ
ของคลินิกกัญชาทางการแพทย์ตามคัมภีร์ทางการแพทย์แผนไทย ตำรับยาแผนไทยมีการนำกัญชามาปรุง
ร่วมกับตัวยาอื่น ไม่ใช้เป็นสมุนไพรเดี่ยว เพื่อให้สมุนไพรอื่นช่วยคุมฤทธิ์ของกัญชา มีสรรพคุณช่วยเจริญอาหาร
ชูกำลัง แก้ไข้ผอมเหลือง ระงับความปวด และช่วยให้นอนหลับ
โรงพยาบาลบ้านแท่น เป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 30 เตียง (F2) เริ่มเปิดให้บริการคลินิกกัญชา
ทางการแพทย์ในปี 2564 มีระบบคัดกรองผู้ป่วยและดูแลรักษาตามแนวทางเวชปฏิบัติโดยทีมสหวิชาชีพ
ผู้ผ่านการอบรมหลักสูตรการใช้กัญชาทางการแพทย์ จากสถิติของผู้มารับบริการกัญชาทางการแพทย์
กลุ่มโรค/อาการที่พบมากที่สุด ได้แก่ อาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง (Myofascial Pain Syndrome), นอนไม่หลับ
(Insomnia), เบื่ออาหาร (Anorexia) และกลุ่มผู้ป่วยระยะประคับประคอง (Palliative care) ตามลำดับ
ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา พบว่า การเข้าถึงบริการกัญชาทางการแพทย์มีค่อนข้างน้อย และร้อยละของจำนวน
ผู้ป่วยที่มีการวินิจฉัยระยะประคับประคอง (Palliative care) ที่ได้รับการรักษาด้วยยากัญชาทางการแพทย์
ยังไม่ผ่านเกณฑ์เป้าหมาย (ร้อยละ 7) ซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบาง อาจเนื่องด้วยสภาพปัญหาด้านเศรษฐกิจและสังคม
โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยติดเตียง ยากต่อการเคลื่อนย้าย ขาดผู้ดูแล และยังไม่มีการให้บริการกัญชาทางการแพทย์
ผู้ป่วยเชิงรุกในพื้นที่อำเภอบ้านแท่น ดังนั้น ทีมสหวิชาชีพจึงมีการทบทวนกระบวนการดำเนินงาน ปรับเปลี่ยน
และพัฒนาระบบการให้บริการคลินิกกัญชาทางการแพทย์ในรูปแบบ การบริการเชิงรุก และให้บริการแบบจุด
เดียวเบ็ดเสร็จ (One stop service) ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีข้อบ่งใช้ของยากัญชาทางการแพทย์ เพื่อเพิ่มการเข้าถึง
บริการคลินิกกัญชาทางการแพทย์ที่เป็นระบบและมีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ
วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาระบบบริการสุขภาพสาขาการใช้กัญชาทางการแพทย์ให้มีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ
โดยบูรณาการการดูแลผู้ป่วยร่วมกับภาคีเครือข่ายสุขภาพ
2. เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการคลินิกกัญชาทางการแพทย์
วิธีการศึกษา/กิจกรรมการพัฒนา
ศึกษาพัฒนาระบบงานตาม ขั้นตอน P D C A ด้วยกิจกรรมดังต่อไปนี้