Page 798 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 798

T24

                  เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลช่วยเหลือในภาวะวิกฤติ ลดภาวะความทุกข์ทรมาน จากการเจ็บปวด

                  และเสียชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี มีการวางแผนการตายตามความต้องการของผู้ป่วยเอง
                  วัตถุประสงค์การศึกษา

                         เพื่อพัฒนานวัตกรรมกระดานมหัศจรรย์สอนญาติและผู้ป่วยระยะสุดท้ายและใช้สอนผู้ป่วยและญาติ
                  ให้มีความรู้ เข้าใจถึงการดำเนินโรคของผู้ป่วย เมื่อผู้ป่วยต้องการกลับไปเสียชีวิตที่บ้านญาติสามารถดูแล
                  ประเมินอาการผู้ป่วยจนถึงวาระสุดท้ายของการเสียชีวิต

                  วิธีการศึกษา

                         รูปแบบการศึกษาเป็นแบบวิจัยและพัฒนา (Research & Development) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน
                  การศึกษาครั้งนี้เป็นแบบ เฉพาะเจาะจง  (Purposive sampling) ตึกผู้ป่วยใน จำนวน 30 ราย ที่แพทย์วินิจฉัย
                  ว่าเป็นผู้ป่วยระยะสุดท้ายเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ กระดานมหัศจรรย์ประเมินผู้ป่วยระยะสุดท้าย
                  โปรแกรม SPSS ทดสอบโดยใช้ Paired Samples T-Test  เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือ แบบวัด

                  ความรู้ก่อน และหลัง ผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่านค่า  IOC = 0.8 แบบวัดความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ
                  เชิงพรรณนา ค่าเฉลี่ย  ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
                  วิธีการพัฒนา
                         - ศึกษาแนวคิด ทฤษฏี ที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมของการดูแลผู้ป่วย (Palliative Care) ทบทวนวรณ

                  กรรม และงานวิจัยที่เกี่ยวของส่วนใหญ่ที่ศึกษาจะเป็นแบบกระบวนการไม่ค่อยมีนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์
                         -วางแผนการออกแบบนวัตกรรมที่จะใช้ให้ผู้ป่วยและญาติเข้าใจถึงโรคและการดูแลผู้ป่วยเมื่อเข้าสู่
                  ภาวะวิกฤติให้ครบทุกมิติ นวัตกรรม จะมีรายละเอียดคือ ความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองของผู้ป่วย PPS

                  (Palliative Performance Score),ระดับความเจ็บปวด PS (Pain Score), ADL (Activities of Daily Living)
                  3 Step บันได ๓ ขั้น, ESAS (Edmonton Symptom Assessment Symptom ) - Predictions Death
                         - ทดลองใช้ นวัตกรรมตรวจสอบประสิทธิภาพในกลุ่มขนาดเล็ก ปรับปรุงต้นฉบับพัฒนาให้สวยงาม
                  และเหมาะสำหรับให้ญาติเข้าใจมากขึ้น ดำเนินการพัฒนาให้ได้แบบนวัตกรรมที่มีคุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด
                  ใช้ในกลุ่มตัวอย่างที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเก็บข้อมูลเป็นแนวทางปฏิบัติในการวิจัยและพัฒนา


                  ผลการศึกษา
                         จากการใช้กระดานมหัศจรรย์ประเมินผู้ป่วยระยะสุดท้าย ที่ใช้สอนผู้ป่วยและญาติ 30 ราย พบว่า การ

                  วัดความรู้ความเข้าใจหลังใช้นวัตกรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสถิติที่ระดับ .05 (  = 3.12 SD ± 0.18) และหลัง

                  ให้ความรู้ (  =3.98 SD ± 0.26 ) ความพึงพอใจ ในนวัตกรรมกระดานมหัศจรรย์โดยรวมอยู่ในระดับมาก (
                  = 4.43, SD ± 0.57)

                  อภิปรายผล
                         กระดานมหัศจรรย์ใช้ง่าย สะดวกราคาไม่แพง ทนทาน ญาติและผู้ป่วยมีความรู้เข้าใจโรคหลังการใช้
                  และขอกลับไปเสียชีวิตที่บ้านไม่เกิน 3 วัน 28 คน  1 คน รอญาติมาจากต่างจังหวัด อีก 1 คนขออยู่ก่อน

                  เนื่องจากไม่มีญาติ ค่าใช้จ่ายในการดูแลลดลง จาก 100,000 บาทต่อคน ต่อเดือน เหลือ 9,000 บาท หลังกลับ
                  บ้าน ใช้หลักการ Home ward และ Telemedicine ผ่าน อสม.และพยาบาล รพ.สต.และตอนนี้ประสาน
                  อปท.มาช่วยในการจัดทำกุฏิชีวาภิบาลในวัด
   793   794   795   796   797   798   799   800   801   802   803