Page 797 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 797
T23
นวัตกรรมกระดานมหัศจรรย์ประเมินผู้ป่วยระยะสุดท้าย (Palliative Care)
(The Magic Board to assess Palliative Care)
2
นางสาวพัชราพร ควรรณสุ , นางนันทนา ควรรณสุ
1
โรงพยาบาลโพนสวรรค์ อำเภอโพนสวรรค์
จังหวัดนครพนม เขตสุขภาพที่ 8
ประเภทวิชาการ
บทนำ
ผู้ป่วยระยะสุดท้าย คือผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์แล้วว่าเป็นโรคที่รักษาไม่หาย มีระยะคุกคาม
และเสียชีวิต เมื่อผู้ป่วยและญาติไม่ทราบถึงโรคที่เป็นอยู่ จะทำให้การวางแผนการดูแล การประสานการ
ช่วยเหลือลำบาก จึงพัฒนานวัตกรรมกระดานมหัศจรรย์ประเมินผู้ป่วยระยะสุดท้าย มีวัตถุประสงค์ เพื่อใช้สอน
ผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยระยะสุดท้าย เมื่อผู้ป่วยต้องการกลับไปเสียชีวิตที่บ้านญาติสามารถดูแลและประประเมิน
อาการผู้ป่วย ในระยะวิกฤติได้ และประสานการช่วยเหลือจากทีมสหวิชาชีพ จนถึงวาระสุดท้ายก่อนเสียชีวิต
วิธีการศึกษารูปแบบการศึกษาเป็นแบบวิจัยและพัฒนา (Research & Development) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน
การศึกษาครั้งนี้เป็นแบบ เฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) จำนวน 30 ราย ที่แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นผู้ป่วย
ระยะสุดท้าย เก็บข้อมูล เดือน มกราคม 2566 ถึง ธันวาคม 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ กระดาน
มหัศจรรย์ประเมินผู้ป่วยระยะสุดท้าย โปรแกรม SPSS ทดสอบโดยใช้ Paired Samples T-Test เครื่องมือที่
ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือ แบบวัดความรู้ก่อน และหลัง ผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่านค่า IOC = 0.8 แบบวัดความพึง
พอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
ผู้ป่วยระยะสุดท้าย คือผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์แล้วว่าเป็นโรค และที่รักษาไม่หาย มีระยะ
คุกคามชีวิต จนกระทั่งป่วยอยู่ในระยะสุดท้ายและเสียชีวิต เน้นการดูแลแบบองค์รวม กาย ใจ สังคม และจิต
วิณญาณ ให้การดูแลผู้ป่วยและครอบครัว เคารพในสิทธิผู้ป่วย ผู้ป่วย และครอบครัวทราบข้อมูลการเจ็บป่วย
และร่วมตัดสินใจวางแผนมีแนวทางและเป้าหมายในการดูแลผู้ป่วยเมื่อมีปัญหาและร่วมแก้ไข ก่อนที่ผู้ป่วยเสีย
จะชีวิตอย่างสงบและสมศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ โรงพยาบาลโพนสวรรค์ เป็นโรงพยาบาลชุมชน จำนวน
30 เตียงให้บริการผู้ป่วยครบทุก 4 มิติ แต่ก่อนยังไม่มีผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน ผู้รับบริการยังไม่เข้าถึงระบบการ
ดูแลแบบประคับประคอง โรงพยาบาลมี 12 สถานบริการ ผู้ป่วยประคับประคองรายใหม่เพิ่มทุกปี ปี พ.ศ.
2564, 2565 จำนวน 301 และ 349 คน และคิดว่าจะมีมากขึ้นในทุกๆปี การเข้ามารักษาที่ตึกผู้ป่วยใน ใช้
เวลานอนมากขึ้น ค่าใช้จ่ายสูงเฉลี่ย 1เดือน 100,000 บาทต่อ 1 ราย รวมทั้งผู้เฝ้าขาดรายได้และต้องเสีย
ค่าใช้จ่าย และผู้ป่วยบางคนทนไม่ไหวต้องขอหยุดการรักษา และขอไปเสียชีวิตที่บ้าน แต่ญาติต้องการเอา
กลับมารับการรักษาที่ รพ.ใกล้บ้านรอจนกว่าผู้ป่วยจะเสียชีวิตโดยไม่เข้าคำว่าผู้ป่วยประคับประคองเพราะคิด
ว่าเป็นตราบาปในการดูแลไม่ได้ดีเมื่อกลับบ้านและรู้สึกกลัว
ดังนั้น ในการให้ความรู้ในดูแลผู้ป่วยประคับประคองจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ ผู้ศึกษาจึงต้องการสร้าง
นวัตกรรมกระดานสอนมหัศจรรย์ประเมินผู้ป่วยระยะสุดท้าย เพื่อใช้สอนผู้ป่วย ญาติ เรื่องโรคที่เป็นการดำเนิน
ของโรคระยะลุกลาม การคาดคะเนการเสียชีวิต ในการประเมินความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองของผู้ป่วย
ให้อยู่ในกระดานแผ่นเดียว ในการทำ Family meeting และการทำ Advance Care Plan ที่ผู้ป่วยและญาติ
จะต้องเข้าใจเป็นอย่างยิ่ง เพื่อจะช่วยกันวางแผนในการดูแลผู้ป่วย เมื่อผู้ป่วยต้องการกลับไปเสียชีวิตที่บ้านตาม
เจตนารมณ์ของผู้ป่วยญาติเข้าใจ โดยจะมีระบบดูแลผู้ป่วยโดยทีมสหวิชาชีพของ รพ.สต. ครอบครัว และอสม.