Page 167 - แนวทางการพัฒนาการจัดระบบบริการสุขภาพ
P. 167

คู่มือแนวทางการอบรมหลักสูตรพระคิลานุปัฏฐาก (พระอาสาสมัครส่งเสริมสุขภาพประจำวัด-อสว.)



                     วิธีป้องกันไม่ให้สายตาเสื่อมเร็ว

                            ๑.  ไม่อยู่ในที่มีแสงสว่างมาก เช่น ถ้าแสงแดดจ้าควรใส่แว่นกันแสง
                            ๒.  รับประทานอาหารตามหลักโภชนาการ การขาดวิตามินเอ ขาดโปรตีนทำให้ตาเสื่อมเร็ว
                            ๓.  ระวังอย่าให้แสงแดด หรือแสงเชื่อมโลหะเข้าตาต้องใช้แว่นกันแสง

                            ๔.  การดูทีวี ต้องนั่งระยะห่าง ๕ เท่า ของขนาดจอโทรทัศน์ จึงจะไม่เกิดอันตราย เพราะภาพจะตก
                     ที่จะรับภาพพอดีโดยไม่ต้องเพ่ง
                            ๕.  ผู้สูงอายุควรใช้แว่นตาช่วยสำหรับอ่านหนังสือระยะใกล้ มิฉะนั้นจะมีอาการปวดตา และปวดศีรษะ

                     เพราะเพ่งสายตามาก

                     โรคตาที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ มีดังนี้

                            โรคต้อกระจก
                            โรคตาที่เป็นกันมากที่สุดในผู้สูงอายุคือ ต้อกระจก เมื่ออายุมากขึ้น แก้วตาจะเปลี่ยนจากสีใสๆ
                     เป็นสีน้ำตาล หรือสีขาวขุ่นมาขึ้นเรื่อยๆ ทำให้แสงผ่านเข้าไปในตาไม่ได้มีผลทำให้ตามัวลงๆ

                            อาการ
                            ๑.  ตามัวลงเรื่อยๆ โดยในระยะแรกๆ นั้นตาจะมัวเฉพาะเวลาออกแดด พอเข้าที่สลัวๆ จะมองเห็น
                     ได้ดีกว่า พอเป็นมากขึ้นก็จะมัวทั้งในที่สว่างและสลัว จนในที่สุดจะมองเห็นแค่แสงไฟ และสามารถบอกได้

                     แต่ทิศทางของแสงที่ส่องเข้าตาเท่านั้น
                            ๒.  เมื่อต้อแก่มากขึ้น รูม่านตาซึ่งเดิมมีสีดำสนิทจะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีขาวขุ่น หรือสีน้ำตาลขุ่น
                            สาเหตุ

                            ๑.  โดยทั่วไปเป็นการเปลี่ยนแปลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น
                            ๒.  เกิดจากพิษของยาบางส่วน เช่น การใช้ยาพวกสเตียรอยด์นานๆ ยาฆ่าปลวกบางชนิด

                            ๓.  การขาดสารบางชนิด เช่น แคลเซียม
                            ๔.  โรคบางโรคทำให้เกิดต้อกระจกเร็วขึ้น เช่น เบาหวาน ฯลฯ
                            ๕.  อุบัติหตุ มีการกระแทก หรือมีบาดแผลทะลุที่กระจกตาดำ

                            ๖.  เป็นแต่กำเนิด อาจเกิดจากกรรมพันธุ์ หรือเกิดในเด็กที่มารดาเป็นหัดเยอรมันระหว่างตั้งครรภ์
                     ๓ เดือนแรก

                            การรักษา
                            โรคต้อกระจกนี้สามารถรักษาได้โดยการลอกต้อกระจก ซึ่งทำได้เฉพาะในโรงพยาบาลเท่านั้น เมื่อลอก
                     ต้อกระจกออกแล้วใส่แว่นผู้ป่วยจะกลับเห็นชัดได้โดยใช้ยาฉีดเฉพาะที่ไม่ต้องดมยาสลบ ทำเสร็จแล้วต้องนอน

                     รักษาอยู่ในโรงพยาบาลระยะหนึ่ง
                            ข้อควรปฏิบัติ
                            ถ้าคิดว่าเป็นต้อกระจกในระยะแรก ควรได้รับการตรวจจากแพทย์ เพื่อให้แน่ใจว่า สายตาที่มัวลงนั้น

                     เป็นเพราะต้อกระจกจริง ไม่ใช่เกิดจากโรคอื่น เช่น ต้อหินเรื้อรัง หรือโรคของจอประสาทตา
                            ถ้าพบว่าต้อกระจกอยู่ในระยะที่สุกแล้ว คือ รูม่านตามีสีขุ่นขาว หรือสีน้ำตาลเข้มแล้วควรไปพบแพทย์
                     เพื่อรับการลอกต้อกระจกออกก่อนที่จะมีโรคแทรกซ้อน





                                                              ๙๑
   162   163   164   165   166   167   168   169   170   171   172