Page 168 - แนวทางการพัฒนาการจัดระบบบริการสุขภาพ
P. 168
คู่มือแนวทางการอบรมหลักสูตรพระคิลานุปัฏฐาก (พระอาสาสมัครส่งเสริมสุขภาพประจำวัด-อสว.)
ข้อเสียถ้าปล่อยไว้จนสุกเกินไป
๑. ทำให้เกิดต้อหิน ซึ่งมีอาการปวดตาและทำให้ตาบอดสนิทได้โดยไม่มีทางแก้ไข
๒. ทำให้เป็นโรคม่านตาอักเสบแทรกขึ้นมาได้
๓. ทำให้การผ่าตัดลอกต้อออกยากขึ้น มีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนหลังผ่าตัดได้มากขึ้น
หมายเหตุ อันตรายที่เกิดจากการรักษาที่ไม่ถูกวิธี
ในปัจจุบัน มีหมอชาวบ้านรักษาต้อกระจก โดยใช้เข็มทิ่มแทงให้แก้วตาตกไปอยู่ในลูกตาส่วนหลัง ซึ่งผู้ป่วย
อาจจะมองเห็นได้ทันที แต่จะตาบอดในเวลาต่อมาภายใน ๖ เดือน หรือ ๑ ปี นอกจากตาบอดแล้วจะมีอาการ
ปวดร่วมด้วย จึงควรแนะนำประชาชนให้ทราบเพื่อจะไม่ได้หลงผิด ไปรักษาด้วยวิธีดังกล่าว
โรคต้อหิน
คือโรคที่เกิดจากภาวะความดันในลูกตาสูงกว่าปกติ ภายในลูกตาของคนเรา จะมีการผลิตหรือสร้างน้ำใส
ชนิดหนึ่งออกมาอยู่ในช่องหลังม่านตา แล้วไหลผ่านรูม่านตาออกมาอยู่ในช่องหน้าม่านตา ต่อจากนั้นน้ำในนี้
ก็จะไหลผ่านรูตะแกรงเล็กๆ เข้าสู่เส้นเลือดดำของลูกตา จึงทำให้ความดันลูกตาคงที่อยู่ตลอดเวลา ถ้ามีอะไร
ขัดขวางทางเดินของน้ำในลูกตา จะเกิดการคั่งของน้ำภายในลูกตาทำให้ความดันภายในลูกตาสูง เรียกว่า ต้อหิน
ต้อหิน มี ๒ ชนิด
๑. ต้อหินแบบเฉียบพลัน เกิดจากการไหลเวียนของน้ำใสในลูกตาไม่สะดวกที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
ทำให้มีอาการตาแดง รูม่านตาขยาย ปวดตามาก คลื่นไส้ อาจมีอาการอาเจียนร่วมด้วย จะเห็นสีรุ้งรอบดวงไฟ
สายตาจะมัวลงอย่างรวดเร็ว ถ้าไม่ได้รักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที จะทำให้ตาบอดได้ภายใน ๒ - ๓ วัน
๒. ต้อหินชนิดเรื้อรัง เกิดจากความเสื่อมของทางไหลผ่านของน้ำใสภายในลูกตาต้อหินชนิดนี้ไม่มี
อาการเจ็บปวด เกิดขึ้นช้าๆ โดยไม่รู้ตัว สายตาจะค่อยๆ มัวลง จากขอบเขตของการมอง
การป้องกัน
ผู้ที่มีอายุเกิน ๔๐ ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจตาจากจักษุแพทย์ เพื่อให้แน่ใจว่าความดันภายในลูกตา
อยู่ในระดับปกติอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง นอกจากนั้นควรถนอมดวงตาให้ดีที่สุด หลีกเลี่ยงการกระทบกระเทือน
ต่างๆ เมื่อมีอาการผิดปกติของตาควรพบจักษุแพทย์โดยเร็วที่สุด ไม่ควรหยอดตาด้วยยาสเตียรอยด์โดยแพทย์
มิได้สั่ง เพราะยาประเภทนี้ทำให้ความดันภายในลูกตาสูงกว่าปกติ
การรักษา
ต้อหินเป็นโรคที่ร้ายแรงทำให้ตาบอดได้ในเวลาอันรวดเร็ว จึงควรพบจักษุแพทย์เพื่อทำการรักษา
โดยเร็วที่สุด ถ้าเป็นมากจนประสาทตาเสียไปแล้ว สายตาจะไม่กลับคืนมา นอกจากการรักษาเบาหวานให้หาย
แล้ว (ในรายที่เป็นเบาหวานร่วมด้วย) จักษุแพทย์จะรักษาด้วยแสงเลเซอร์ เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้โรคลุกลามมากขึ้น
และเพื่อความแน่นอนและปลอดภัยของดวงตาควรปรึกษาจักษุแพทย์เมื่อมีอาการเหล่านี้
๑. เห็นอะไรลอยไปลอยมาในลูกตา เกิดจากความเสื่อมของน้ำวุ้นในลูกตา
๒. เห็นแสงแวบๆ ในลูกตา แสดงว่ามีอะไรไปกระตุ้นประสาทจอรับภาพ ทำให้เกิดแสงสว่างเป็น
การเตือนว่าประสาทตาหลุด
๓. การที่มีน้ำตาไหลเป็นประจำ เกิดจากมีการระคายเคืองของเนื้อเยื่อหุ้มตา ความดันลูกตาสูง
การเสื่อมของเยื่อหุ้มตา และการอุดตันของท่อทางเดินน้ำในตา
๙๒