Page 44 - 1.8.67 E-booK เล่มคู่มือการดำเนินงานมินิธัญญารักษ
P. 44

กระบวนการชุมชนบำบัด (Therapeutic community)

                        ชุมชนบำบัดเป็นรูปแบบหนึ่งในการบำบัดรักษาฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาและสารเสพติด เพื่อให้
               ผู้ป่วยหรือสมาชิกฝึกพัฒนาตนเอง โดยการอยู่ร่วมกันเสมือนเป็นสมาชิกในครอบครัวหนึ่ง ที่สร้างขึ้นใหม่

               ในสถานที่ที่ปลอดภัย ปลอดยาเสพติด มีบรรยากาศที่อบอุ่น ห่วงใยและเอื้ออาทร มีความเคารพในตัวบุคคล

               นำไปสู่การปรับเปลี่ยนทัศนคติ มุมมองของชีวิต รู้จักตนเอง พัฒนาตนเอง ฝึกความรับผิดชอบ และมีระเบียบ
               วินัย ซึ่งจะนำไปสู่วิถีชีวิตที่ปราศจากการใช้สารเสพติด มีการกำกับ ดูแลด้วยกฎเกณฑ์ อุดมการณ์และปรัชญา

               เพื่อให้การอยู่ร่วมกันดำเนินไปด้วยดี บนพื้นฐานความเชื่อ
                        - บุคคลสามารถเปลี่ยนแปลงได้ (People can change)

                        - กิจกรรมกลุ่มก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง (Group activities can foster this change)

                        - แต่ละคนต้องมีความรับผิดชอบและมีการมอบหมายบทบาทให้ทำ (Individual must take
               responsibility for his or her behaviors and commitment must be made)

                        - การมีโครงสร้างที่เหมาะสมและสามารถวัดการเปลี่ยนแปลงได้ (Structure can be created to
               accommodate and measure this change)

                        - และมีการฝึกฝนปฏิบัติตัวตามกติกาของสังคมที่สมาชิกจะต้องอดทนต่อความรู้สึกที่ต้องฝืนใจทำ

               (Act as if- Go through the motion)
                        เป้าหมายของชุมชนบำบัด

                        1. การเลิกยาเสพติดได้ (Abstinence)

                        2. การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต (Change in life style)
                        3.  การขจัดพฤติกรรมที่ต่อต้าน (Elimination of antisocial behaviors)

                        4. การรู้จักทำงาน (Employment)
                        5. ปรับทัศนคติต่อสังคมและเห็นคุณค่าในตนเอง (Adapting  pro-social  attitudes  and values)

                       แนวคิดที่สำคัญของชุมชนบำบัด

                       -  รูปแบบการเรียนรู้ทางสังคม (The Social Learning Model)

                       -  หลักการการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน (The “self-help” concept)
                       -  ใช้กลไกของชุมชนในการอยู่ร่วมกันที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและทัศนคติที่เหมาะสม

                          (The “community” as the vehicle for change)

                       กลุ่มบำบัด (Group Therapy)
                       เป็นกิจกรรมการรักษาแบบหนึ่ง ซึ่งมีวัตถุประสงค์ เพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม โดยใช้กระบวนการ

               กลุ่ม ทำให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกกลุ่ม เกิดการเรียนรู้แบบใหม่ ได้เห็นแบบอย่างที่ดี เปลี่ยนแปลง

               ความคิด เจตคติ และมีทักษะในการดำเนินชีวิตที่ดี โดยกิจกรรมกลุ่มบำบัด ก่อให้เกิดการมีปฏิสัมพันธ์กันเสมอ
               การยอมรับซึ่งกันและกัน จัดการให้มีบทบาทที่ชัดเจน สามารถเปิดเผยตนเอง มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

               มีการใช้กฎเกณฑ์ร่วมกัน ดึงสมาชิกกลุ่มออกมาเผชิญกับความเป็นจริง ช่วยเหลือและให้กำลังใจซึ่งกันและกัน







                                                           37
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49