Page 291 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 291

G32


                         การศึกษาครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) เพื่อพัฒนาระบบการส่งต่อข้อมูลผู้ป่วย
                  วาร์ฟารินเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยจากโรงพยาบาลสู่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภออุทุมพรพิสัย
                  จังหวัดศรีสะเกษ เพื่อประเมินผลความปลอดภัยของผู้ป่วยยาวาร์ฟาริน โดยผู้ป่วยต้องไม่ได้รับยาที่มีข้อควร

                  ระวังในการใช้และต้องไม่ได้รับการฉีดยา IM และเครือข่ายอสม.มีส่วนร่วมในการออกเยี่ยมบ้านผู้ป่วยวาร์ฟาริน
                  โดยประกอบด้วย 4 ขั้นตอน วางแผน การดำเนินการ ติดตาม และประเมินผล เริ่มดำเนินการเก็บข้อมูลตั้งแต่
                  เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2566 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 ประชากรที่ศึกษาคือผู้ป่วยวาร์ฟารินในเขต

                  โรงพยาบาลอุทุมพรพิสัย กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยวาร์ฟารินที่มีค่า INR นอกช่วงการรักษาที่ทำการคัดเลือกกลุ่ม
                  ตัวอย่างแบบเจาะจงจำนวน 30 คน รวบรวมข้อมูลโดยสถิติ ร้อยละ Wilcoxon signed-ranks test

                         การวิจัยนี้ต้องการพัฒนาระบบการส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยวาร์ฟารินเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยจาก
                  โรงพยาบาลสู่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสอดคล้องกับ  service plan สาขาโรคหัวใจ ที่มีนโยบายให้
                  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมีมาตรฐานในการดูแลผู้ป่วยวาร์ฟาริน และสอดคล้องกับเกณฑ์ รพ.สต.

                  ปี 2561 ที่จะต้องมีการเชื่อมข้อมูลระหว่างโรงพยาบาลและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในประเด็น รพ.
                  สต.ต้องมีทะเบียนรายชื่อผู้ป่วย และต้องติดสติ๊กเกอร์เตือนในแฟ้มประวัติหรือแฟมิลีโฟลเดอร์ ซึ่งผู้ทำ

                  การศึกษาก็ได้จัดทำให้ครบองค์ประกอบดังกล่าวแล้ว
                         การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยวาร์ฟารินในครั้งนี้เกิดจากการร่วมมือกันของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล
                  ส่งเสริมสุขภาพตำบลในการร่วมกันคิดวิเคราะห์ วางแผน การดำเนินการ ติดตาม และประเมินผล นำไปสู่การ
                                                                                                        5
                  ทำกิจกรรมต่างๆที่ทำให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับความปลอดภัยสอดคล้องกับงานวิจัยของอัจฉรีย์  สีหา  และ
                                        6
                  ประภา พิทักษา และคณะ  ที่ทำวิจัยเชิงปฏิบัติการเช่นเดียวกันและเป็นการพัฒนากระบวนการดูแลผู้ป่วยวาร์
                                                                                 5
                  ฟารินในพื้นที่เช่นกัน และได้นำข้อเสนอแนะจากงานวิจัยของอัจฉรีย์  สีหา    มาทำเพิ่มคือเพิ่มการลงข้อมูล
                  เตือนในฐานข้อมูลการรักษาในโปรแกรมเจที่รพ.สต.ใช้ในการสั่งจ่ายยาให้ผู้ป่วยเพื่อช่วยเตือนผู้สั่งใช้ยาผ่าน
                  โปรแกรมหากมีการสั่งใช้ยาที่มีข้อควรระวังหรือมีการสั่งฉีดยาทาง IM ระบบจะเตือนในหน้าจอเพื่อป้องกันให้
                  ผู้ป่วยไม่ได้รับยาทาง IM หรือยาที่มีข้อควรระวังในการใช้ ผู้วิจัยทำการวิจัยกับระบบบริการผู้ป่วยนอกซึ่ง

                                                    7
                  แตกต่างจากงานวิจัยของติยารัตน์  ภูติยา  ซึ่งทำการพัฒนารูปแบบการบริบาลทางเภสัชกรรมสำหรับการดูแล
                  ผู้ป่วยในแต่ผลลัพธ์คือต้องการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยวาร์ฟารินเหมือนกัน  นอกจากนี้ผู้วิจัยยังได้

                  ดำเนินการวิจัยโดยการออกเยี่ยมบ้านในผู้ป่วยที่มีค่า INR นอกช่วงการรักษา ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัย
                                      8
                  ของวรรณวิมล เหลือล้น  ที่ทำการวิจัยเพื่อประสิทธิผลของการเยี่ยมบ้านด้านยาในผู้ป่วยที่ใช้วาร์ฟาริน เพื่อดู
                  ผลลัพธ์ของการเยี่ยมบ้านว่ามีผลต่อค่า INR ทั้งก่อนและหลังการเยี่ยมบ้าน แต่แตกต่างจากงานวิจัยของอุทัย

                         9
                  บุญเรือน  ที่ทำการวิจัยเรื่องผลของการให้คำปรึกษาแบบสั้น (Brief Intervebtion) ต่อพฤติกรรมการดูแตนเอง
                  ของผู้ป่วยที่รับยาวาร์ฟาริน ซึ่งผู้วิจัยยังไม่ได้เก็บผลของการให้คำปรึกษาต่อพฤติกรรมของผู้ป่วย นอกจากนี้

                  ผู้วิจัยยังได้พัฒนาให้เกิดเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยวาร์ฟารินโดยส่งเสริมให้ อสม.ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ
                  ตำบลที่พร้อมจะให้ อสม.ออกเยี่ยมบ้านเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนในการดูแลผู้ป่วยในชุมชนด้วยกันซึ่ง
                  สอดคล้องกับงานวิจัยของพัทยา หวังสุขและคณะ 10
                         จุดแข็งของงานวิจัย คือ ความเข้มแข็งของบุคลากรที่ให้ความร่วมมือในการทำงานเป็นทีมเพื่อทำให้

                  งานบรรลุเป้าหมาย มีความพร้อมที่จะดำเนินงานตามนโยบาย
   286   287   288   289   290   291   292   293   294   295   296