Page 391 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 391

K24


                         ครั้งที่ 1 ทำกิจกรรม 2 วัน ได้แก่ประเมินสภาวะสุขภาพก่อนเข้าร่วมโครงการ ตรวจคัดกรองสุขภาพ
                  พื้นฐาน เจาะเลือดส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ  ประเมินพฤติกรรมสุขภาพ ประเมินภาวะเครียดและระดับ

                  ความสุข  เรียนรู้ศักยภาพที่แท้จริงของมนุษย์  รู้จักจิตใต้สำนึกและวิธีการสื่อสารเพื่อการบำบัดตัวเอง เรียนรู้
                  ความเชื่อกับสุขภาพและความเชื่อจำกัดที่มีผลต่อสุขภาพ สาเหตุที่แท้จริงของความเจ็บป่วยและการเกิดโรค
                  การกำหนดเป้าหมายด้านสุขภาพรายบุคคล  การสร้างแรงจูงใจให้มีความเชื่อมั่นในตัวเองว่าสามารถปฏิบัติ
                  กิจวัตรประจำวัน ตามโปรแกรมได้

                         ครั้งที่ 2 ห่างจากครั้งแรก 2 สัปดาห์ทำกิจกรรม 2 วัน โดย เรียนรู้ ความเครียดและอารมณ์ลบๆ
                  ที่มีผลต่อสุขภาพ การจัดการความเครียดด้วยกระบวนการบอกรักตัวเอง ให้อภัยตัวเอง การยอมรับและให้อภัย
                  ผู้อื่น ไม่ตัดสินใคร ทำกิจกรรมย้อนเวลาบำบัด เอาอารมณ์ลบๆ ออกไปจากความรู้สึกนึกคิด  ฝึกสมาธิเพื่อให้มี

                  สติอยู่กับปัจจุบัน ลดการคิดฟุ้งซ่าน ฝึกการจินตนาการให้มีสุขภาพดีตามที่ต้องการ  จัดทำสคริปต์เสียง
                  โปรแกรมจิตการขอบคุณร่างกาย เพื่อเพิ่มการตระหนักรู้ การใส่ใจดูแลสุขภาพตนเอง
                         ครั้งที่ 3 เมื่อครบ 3 เดือน ทำกิจกรรม 2วัน โดยทบทวนทุกกระบวนการเรียนรู้และประเมินผล
                  เมื่อสิ้นสุดโครงการ

                  ผลการศึกษาและการอภิปรายผล

                             กราฟแสดงร้อยละพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ของผู้ป่วยเรื้อรัง ก่อนและเมื่อสิ้นสุดโครงการ


                         100      93.33      93.33       90
                          90
                          80              74.71      66.67
                          70   61.15                                          56.67      56.57
                          60                                       46.7
                          50                                                           40
                          40                                    33.33
                          30                                                20
                          20
                          10                                                                       ก่อนเริ่มโครงการ
                          0
                                                                                                   เมื่อสิ้นสุดโครงการ













                        จากกราฟพบว่าผู้เข้าร่วมโครงการมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ดีขึ้นในทุกด้าน อาจเป็นเพราะทุกคน
                  มีเป้าหมายด้านสุขภาพของตนเองชัดเจน มีโปรแกรมกิจวัตรประจำวันให้ทุกคนทำอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งสร้าง
                  ความเชื่อมั่นว่าทุกคนสามารถมีสุขภาพดีได้ กิจกรรมการประกวดผู้ที่มีผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงดีเด่น
                  ก็เป็นการสร้างแรงจูงใจให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความตั้งใจที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมากยิ่งขึ้น
   386   387   388   389   390   391   392   393   394   395   396