Page 390 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 390
K23
ผลการพัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยโปรแกรมการสื่อสารกับจิตใต้สำนึก
ของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โรงพยาบาลสามพรานปี 2566
นางสาวสุนันทา เอ๊าเจริญ
โรงพยาบาลสามพราน เขตสุขภาพที่ 5
ประเภท วิชาการ
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
ในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคเรื้อรังนั้น เพื่อให้เกิดผลดีและลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น ควรมุ่งเน้น
ให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ควบคู่ไปกับแผนการรักษาของแพทย์ คลินิกโรคเรื้อรังและที่ปรึกษา
คุณภาพโรงพยาบาลได้ร่วมกันทบทวนข้อมูลพบว่าในปี 2565 มีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับ
ความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติร้อยละ 49.37 ในปี 2563 – 2565 ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้
ร้อยละ 29.04 , 29.34 และ 27.39 ตามลำดับ เมื่อวิเคราะห์ระบบการบริการเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
สุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ของคลีนิกนั้น ทำในรูปแบบการให้สุขศึกษาเป็นรายบุคคลและรายกลุ่มโดยใช้วิธีการ
แบบ Routine ไม่ได้ค้นหาหรือประเมินปัญหาเชิงลึกของผู้ป่วยแต่ละรายอย่างจริงจัง ไม่มีกิจกรรม
เพื่อเสริมแรงจูงใจให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมและตระหนักรู้ในการดูแลสุขภาพตนเองอย่างแท้จริง ผู้ป่วยส่วนใหญ่
จึงมีความรู้เกี่ยวกับโรคที่เป็น แต่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพทำได้เพียงช่วงเวลาสั้นๆหรือบางคนก็ไม่มี
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแต่อย่างใด จึงส่งผลให้การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและระดับความดันโลหิต
ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้ไม่ดีเท่าที่ควร
ผู้ดูแลคลินิกโรคเรื้อรังและที่ปรึกษาระบบคุณภาพโรงพยาบาลสามพราน ได้ทบทวนวิชาการ
หลักคิดการสร้างแรงจูงใจจากภายใน รูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่หลากหลาย การปรับเปลี่ยน
พฤติกรรมสุขภาพที่เน้นกระบวนการรับรู้ความสามารถในการปรับพฤติกรรมสุขภาพ (self efficacy) การกำกับ
พฤติกรรมสุขภาพของตนเอง (self regulation) และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง (self care)
รวมถึงการดูแลผู้ป่วยด้วยมิติจิตวิญญาณ ความเชื่อด้านสุขภาพและวิธีการสื่อสารลงลึกระดับจิตใต้สำนึก
การส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังเห็นคุณค่าของตัวเอง รักและใส่ใจตัวเอง เชื่อมั่นในศักยภาพของตนเองว่า
สามารถดูแลสุขภ าพ ตนเองได้ ตามเป้าหมายและอยู่อย่างมีความสุข คลินิกโรคเรื้อรัง
จึงได้จัดทำโครงการพัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยโปรแกรมการสื่อสารกับจิตใต้สำนึก
ของผู้ป่วยโรคเรื้อรังโรงพยาบาลสามพราน
วัตถุประสงค์การศึกษา
เพื่อศึกษาผลการพัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยโปรแกรมการสื่อสารกับ
จิตใต้สำนึกของผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีต่อพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ ดัชนีมวลกาย รอบเอว ระดับ
ความดันโลหิต และผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ของผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่เข้าร่วมโครงการ
วิธีการศึกษา
เป็นการศึกษาวิจัยเชิงทดลองบนพื้นฐาน R2R โดยรับผู้ป่วยโรคเรื้อรังจากคลินิกโรคเรื้อรังที่สมัครใจ
จำนวน 30 คน เข้าร่วมโครงการระหว่าง วันที่15 พฤษภาคม ถึงวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2566 โดยเก็บข้อมูล
ก่อนเข้าร่วมโครงการและเมื่อสิ้นสุดโครงการ (3 เดือน) กิจกรรม 3 ครั้งดำเนินดังนี้