Page 411 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 411

K44

                               การพัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยง

                              โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงด้วยแนวคิดการจัดการตนเอง

                                             อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช


                                                                     นางเกสราวรรณ ประดับพจน์ และนางปวริศา สังข์วระ
                                                                      โรงพยาบาลพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช เขตสุขภาพที่ 11

                                                                                                                   ประเภท ผลงานวิชาการ

                  ความสำคัญของปัญหาการวิจัย
                         โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-Communicable Diseases;
                  NCDs) เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญและเป็นภัยเงียบต่อชีวิตมนุษย์ ส่งผลกระทบต่อภาวะสุขภาพ

                  และการเสียชีวิตของประชากรทั่วโลก (Yildiz, Esenboga, & Oktay, 2020) ข้อมูลจากการรายงานของ
                  องค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่ามีการเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 71
                  ของสา เหตุการเสียชีวิตทั้งหมดของประชากรโลก ซึ่งสถานการณ์ในประเทศไทยพบอัตราการเสียชีวิต

                  อันมีสาเหตุจากโรค NCDs ที่สำคัญมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในประชากรไทย (Khan, Hashim, King,
                  Govender, Mustafa and Kaabi, 2020) ระหว่างปีพ.ศ. 2563-2565 พบว่าอัตราการเสียชีวิตจาก
                  โรคเบาหวานเพิ่มขึ้นจาก 23.36 เป็น 30.55 โรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นจาก 27.50 เป็น 32.80 (กรมควบคุม
                  โรค,2566) จากรายงานข้อมูลของงานควบคุมโรคไม่ติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช

                  ย้อนหลัง 3 ปี (พ.ศ. 2563-2565) พบว่าประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ติดอันดับ 1
                  ใน 5 ของจังหวัดนครศรีธรรมราช
                         โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงสามารถป้องกันได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมวิถีการดำเนิน
                  ชีวิตให้ถูกต้อง และเหมาะสมได้ด้วยตนเอง โดยการใช้ความรู้และความเข้าใจที่มากพอ มีเจตคติที่ดี และมุ่งมั่นสู่

                  การปฏิบัติตนที่ถูกต้องต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองทั้งด้านการรับประทานอาหาร ด้านการออกกำลัง
                  กาย ด้านการพักผ่อน และด้านการบริหารจัดการความเครียด (World Health Organization, 2021)
                  แนวคิดการจัดการตนเอง (Self-management concept) ของ แคนเฟอร์ และกาลิค-บายส์ (Kanfer,
                  Gaelick- Buys, 1991) เป็นแนวคิดที่ได้รับการยอมรับและนำไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โดยมีความเชื่อ

                  ว่าไม่มีบุคคลใดสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนอื่นได้นอกจากตัวของบุคคลนั้น 4 องค์ประกอบ
                  1) การตั้งเป้าหมาย (Goal setting) 2) การกำกับตนเอง (Self - monitoring) 3) การประมาณตนเอง
                  (Self - evaluation) 4) การเสริมแรงตนเอง (Self-reinforcement) ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่

                  จะต้องสร้างความรู้ ความเข้าใจ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้กับกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและ
                  โรคความดันโลหิตสูง เพื่อจะได้ปฏิบัติตัวในการดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องหมาะสม รวมทั้งสามารถ
                  พัฒนาทักษะการกำกับตนเอง และดูแลตนเอง เพื่อให้มีพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย
                  และการจัดการความ เครียดที่เหมาะสม ผู้วิจัยจึงต้องการที่จะพัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
                  ของกลุ่มเสี่ยง โรค เบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อช่วยให้

                  สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้อย่างต่อเนื่อง มีการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องเหมาะสม ซึ่งผู้วิจัย
                  คาดว่าสามารถลดปัจจัยเสี่ยงของโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงของอำเภอพรหมคีรีลงได้อย่างมี
                  ประสิทธิภาพต่อไป
   406   407   408   409   410   411   412   413   414   415   416