Page 412 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 412
K45
วัตถุประสงค์การศึกษา
1. เพื่อศึกษาสถานการณ์ ปัญหา และความต้องการในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของ
กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช
2. เพื่อพัฒนารูปแบบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ด้วยแนวคิดการจัดการตนเองในกลุ่มเสี่ยง
โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช
3. เพื่อเปรียบเทียบผลของรูปแบบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยแนวคิดการจัดการตนเอง
ต่อการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิต และเส้นรอบเอวของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและ
ความดันโลหิตสูง ก่อนและหลังการเข้าร่วมวิจัย และเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม
หลังการเข้าร่วมวิจัย
วิธีการศึกษา
เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research & Development; R & D) การศึกษาแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ
ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพปัญหาในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดัน
โลหิตสูง เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบ (Analysis) ใช้วิธีการศึกษาวิจัยเชิงสำรวจ และการวิจัยเชิง
คุณภาพ เพื่อให้ได้สภาพปัญหาการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิต
สูง และเป็นข้อมูลในการพัฒนารูปแบบฯในการวิจัยขั้นต่อไป ผู้ให้ข้อมูลหลักในงานวิจัย คือกลุ่มเสี่ยง
โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ที่อาศัยอยู่ในตำบลพรหมโลก อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช
โดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive sampling) จำนวน 35 คน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลรายบุคคล
โดยใช้แบบสอบถาม ประกอบด้วย 1) ข้อมูลทั่วไป 2) ข้อมูลพฤติกรรมการรับประทานอาหาร 3) ข้อมูล
พฤติกรรมเสี่ยง 4) ข้อมูลพฤติกรรมการออกกำลังกาย 5) ข้อมูลความเครียด และประเมินค่าระดับน้ำตาล
ในเลือด ความดันโลหิต และเส้นรอบเอว
ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โดยการนำแนวคิดการสนับสนุนการจัดการ
ตนเอง (Self- management) และการได้รับการสนับสนุนจากบุคลากรด้านสุขภาพมาประยุกต์ใช้(Design and
Development) ผู้วิจัยศึกษารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดัน
โลหิตสูง โดยนำข้อมูลที่ได้จากขั้นตอนที่ 1 มาวิเคราะห์แล้วสังเคราะห์เพื่อออกแบบรูป แบบการปรับเปลี่ยน
พฤติกรรมสุขภาพฯที่เหมาะสม จัดทำคู่มือการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง
จากนั้นนำรูปแบบที่พัฒนาขึ้นไปปรับใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรค
ความดันโลหิตสูง ซึ่งมีกิจกรรมดงนี้คือ 1) ประเมินสภาพปัญหาตามความต้อง การโดยตั้งเป้าหมายร่วมกัน 2)
ให้ความรู้ (knowledge) 3) ฝึกทักษะ (skill) และจัดการกับความเครียด 4) สร้างแรงจูงใจ (motivation)
และติดตามเยี่ยมโดยทีมสุขภาพ โดยวัดผลลัพธ์ก่อนและหลังดำเนินการครบ 16 สัปดาห์
ขั้นตอนที่ 3 ประเมินประสิทธิผลของโปรแกรม โดยใช้การศึกษาแบบกึ่งทดลอง (Quasi-Experi- mental
Research) มีกลุ่มเปรียบเทียบวัดผลก่อนและหลังจัดโปรแกรม (Two-groups Pre-Posttest designs)
เป็นการศึกษาผลของรูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อพฤติกรรมการจัดการตนเอง ของกลุ่มเสี่ยง
โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 84 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองกลุ่มละ 42 คน
จับคู่ให้มีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน โดยกลุ่มทดลองได้รับการดูแลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยใช้แนวคิด
การจัดการตนเอง (Self-management concept) ตามรูปแบบดังนี้คือ ตั้งเป้าหมาย (personal goal
setting) กำหนดข้อตกลงร่วมกัน สร้างพันธะสัญญาการจัดการตนเอง เตรียมความพร้อม ในการจัดการตนเอง
โดยพยาบาลให้ความรู้ (knowledge) /ฝึกทักษะ (Skill) ในการจัดการตนเองเรื่องอาหาร การออกกำลังกาย
และการจัดการกับความเครียด มอบคู่มือในการดูแลตนเอง (patient manual) /สร้างกลุ่มไลน์ / ให้เบอร์