Page 413 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 413

K46

                  โทรศัพท์สำหรับติดต่อ และสร้างแรงจูงใจ (motivation) ในการกำกับตนเอง การประมาณตนเอง การเสริมแรง
                  ตนเอง เป็นระยะเวลา 16 สัปดาห์ และกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามมาตรฐาน

                  วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล/สถิติที่ใช้
                         ประเมินผลลัพธ์การวิจัยก่อนและหลังในสัปดาห์ที่ 16 วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติพรรณนา และ
                  สถิติการทดสอบ Paired t-test เปรียบเทียบผลการทดลองภายในกลุ่มก่อนหลังจัดโปรแกรม และ

                  ใช้ Independent Simple t-test เพื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม

                  ผลการศึกษา
                         พบว่าภายหลังการทดลองในสัปดาห์ที่ 16 กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือด ระดับ
                  ความดันโลหิต และเส้นรอบเอวลดลงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .05) เมื่อเปรียบเทียบ
                  ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมพบว่า ค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือดและระดับความดันโลหิตของ

                  กลุ่มทดลองลดลงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .05) ส่วนค่าเฉลี่ยของเส้นรอบเอว
                  พบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p> 0.05)

                  อภิปรายผล
                         รูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
                  เป็นรูปแบบที่พัฒนาขึ้น โดยการนำแนวคิดการสนับสนุนการจัดการตนเอง (Self-management) ร่วมกับ

                  การได้รับการสนับสนุนจากบุคลากรทางด้านสุขภาพและความร่วมมือของผู้ป่วย มาประยุกต์ใช้
                  ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือด ระดับความดันโลหิต และเส้นรอบเอวลดลง อย่างมี
                  นัยสำคัญ อีกทั้งเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ใช้รูปแบบเดิม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ แสดงให้เห็นว่า

                  รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมานี้ สามารถใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาจจะเนื่องมา
                  จากรูปแบบนี้เกิดจากกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง ทำให้สามารถช่วยเพิ่มสมรรถนะ
                  ในการจัดการตนเองได้ดี เกิดกระบวนการเรียนรู้ในการจัดการตนเองในด้านการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย
                  และการจัดการกับความเครียด สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้อย่างต่อเนื่อง และสามารถ

                  ลดปัจจัยเสี่ยงของลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                  สรุปและข้อเสนอแนะ
                         1) ควรมีการจัดโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง เพื่อชักจูงให้กลุ่มเสี่ยง
                  โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงทุกรายที่ยังไม่ได้เข้าร่วมโปรแกรม ได้รับการดูแลให้ครบทุกคน
                  และควรทำการศึกษาเชิงคุณภาพในกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังกลุ่มอื่นๆ เพื่อให้ได้รูปแบบที่เหมาะสมในแต่ละกลุ่ม

                         2) ควรมีการศึกษาซ้ำในกลุ่มตัวอย่างที่มีขนาดมากขึ้น และติดตามผลการดำเนินงานระยะยาว
                  เพื่อดูความต่อเนื่องของประสิทธิผลของโปรแกรมโดยขยายกรอบเวลาของการศึกษามากกว่า 4 เดือน
   408   409   410   411   412   413   414   415   416   417   418