Page 414 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 414

K47


                                Smart Stroke Suksamran (line OA notify) สาขาโรคไม่ติดต่อ



                                                                       นายอานันท์ สุขใส  พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
                                                                โรงพยาบาลสุขสำราญ จังหวัดระนอง เขตสุขภาพที่ 11
                                                                          ประเภท ผลงานนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์


                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย
                         โรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคที่พบบ่อยและเป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญของทุกประเทศ โดยพบเป็น
                  สาเหตุการตาย 10% จากทุกสาเหตุของประชากรทั่วโลก และทำให้เกิดความพิการ มีแนวโน้มสูงขึ้นในประเทศ
                  ไทย ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในไทยมากกว่า 250,000 ราย/ปี เสียชีวิต 50,000 ราย/ปี โรงพยาบาลสุข

                  สำราญเป็นโรงพยาบาลขนาด 10 เตียง ระดับ F3 ได้มีโครงการ MSU SOS เป็นความร่วมมือของคณะ
                  แพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คณะวิศกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และทีมภาคีเครือข่าย นำรถรักษา
                  อัมพาตเคลื่อนที่ตั้งจุดให้บริการที่โรงพยาบาลสุขสำราญซึ่งเป็นโรงพยาบาล node  และให้บริการรักษา
                  ประชาชนในเขตอำเภอสุขสำราญ อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง และอำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา สามารถ

                  ช่วยลดระยะเวลาในการส่งต่อผู้ป่วยของทั้ง  3  อำเภอ ทำให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงการรักษาที่มีคุณภาพและ
                  ทันเวลา ได้ยาละลายลิ่มเลือดภายในเวลา 4.5 ชม. และมีการจัดตั้ง stroke corner รองรับผู้ป่วย Post rt-PA และ
                  stroke อื่นๆ เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการรักษา การป้องกันการกลับเป็นซ้ำ และการให้ข้อมูลเรื่องการดูแลตนเอง
                  จึงเป็นสิ่งสำคัญกับผู้ป่วย stroke เพื่อให้เกิดความตระหนัก และเห็นความสำคัญในการดูแลตนเองได้ถูกต้อง

                         การใช้ line OA เป็นช่องทางเทคโนโลยีสมัยใหม่และใกล้ตัว ให้ผู้ป่วยและญาติ สามารถเรียนรู้ ข้อมูล
                  ของโรคหลอดเลือดสมอง เช่น การสังเกตอาการ การประเมินความเสี่ยงของตนเอง การดูแลตนเองเพื่อป้องกัน
                  การกลับเป็นซ้ำ รวมถึงระบบนัดและการเข้าถึงการรักษาของผู้ป่วยด้วยเช่นกัน นอกจากนี้นวัตกรรมยังเห็น
                  ความสำคัญของความต่อเนื่องในการรักษา Post hospital เมื่อคนไข้อยู่ในชุมชน โดยมีการเยี่ยมบ้านออนไลน์

                  และในกลุ่มผู้ป่วยที่มีความซับซ้อนในการดูแล สามารถ tele-medicine ผ่านทางไลน์ได้เช่นกัน นอกจากนี้ยัง
                  เพิ่มระบบตอบกลับข้อความโดยเจ้าหน้าที่ เพื่อให้ข้อมูลนอกเหนือจากระบบข้อความอัตโนมัติที่สร้างไว้

                  วัตถุประสงค์การศึกษา
                         1. เพื่อให้ผู้ป่วยและญาติมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวโรคหลอดเลือดสมอง
                         2. เพื่อเตรียมความพร้อมผู้ป่วยและญาติก่อนกลับบ้าน

                         3. เพื่อสร้างระบบติดตามและช่องทางติดต่อให้ผู้ป่วยและญาติเมื่อกลับบ้าน

                  วิธีการศึกษา
                         Plan : 1. รวบรวมข้อมูล ความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองที่ผู้ป่วยต้องทราบ การปฏิบัติตัว การดูแล
                  ตัวเอง

                                        2. ออกแบบการให้ความรู้ทางไลน์ OA ภาพประกอบ
                         Do :   1. สร้าง line OA ให้ความรู้เรื่องผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
                                  2. ออกแบบข้อความตอบกลับอัตโนมัติ เพื่อให้ความรู้กับผู้ป่วยและญาติ
                                  3. นำไลน์ OA ทดลองใช้กับผู้ป่วยผ่านการสแกน QR code โดยอธิบายวิธีการใช้งาน

                                  4. ประเมินความพึงพอใจ และการปรับปรุงนวัตกรรม
                         Check : 1. ประเมินความพึงพอใจจากการใช้นวัตกรรม
                                     2. การปรับปรุงนวัตกรรม
   409   410   411   412   413   414   415   416   417   418   419