Page 417 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 417
K50
ชาวมลายูกาบูกับ “ปัญหาการกินยา” เรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม!!!
เภสัชกรหญิงรอนี กาเดร์
โรงพยาบาลรามัน จังหวัดยะลา เขตสุขภาพที่ 12
ประเภทผลงานทางวิชาการ
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
จากการสำรวจข้อมูลการใช้ยาของผู้ป่วยโรคเรื้อรังโรงพยาบาลรามัน ในปี 2560 มีผู้ป่วยที่รับประทาน
ยาไม่ถูกต้องคิดเป็นร้อยละ 70.25 โดยใช้ยาไม่ถูกต้องเกี่ยวกับจำนวนเม็ดต่อครั้งคิดเป็นร้อยละ 37.33
เกี่ยวกับจำนวนความถี่ต่อวันคิดเป็นร้อยละ 25.52 เกี่ยวกับเวลาที่รับประทานคิดเป็นร้อยละ 20.05 และ
เกี่ยวกับความสัมพันธ์กับมื้ออาหารคิดเป็นร้อยละ 17.10 จากการรับประทานยาไม่ถูกต้องข้างต้นส่งผลให้เกิด
ปัญหาผู้ป่วยมีความร่วมมือในการใช้ยา (adherence) ต่ำมากเพียงแค่ร้อยละ 25.85 เท่านั้น โดยความร่วมมือ
ในการใช้ยาระดับพื้นที่โรงพยาบาลรามันมีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่องค์การอมัยโลกได้กำหนดไว้อย่าง
มาก จึงส่งผลเสียต่อตัวผู้ป่วย สังคม และประเทศได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นภาวะโรคมีความรุนแรง
เกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคต่าง ๆ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมอง โรคไตเรื้อรัง พิการและ
ทุพลภาพ จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าสาเหตุของปัญหามาจากสาเหตุดังต่อไปนี้ 1) ไม่มีความรู้เกี่ยวกับยาของ
ตนเอง เนื่องจากไม่สามารถพูดอ่านเขียนภาษาไทยได้ ไม่สามารถอ่านฉลากยาได้ 2) ไม่มีนวัตกรรมหรือ
เครื่องมือช่วยในการรับประทานยา โดยเฉพาะผู้ป่วยที่อ่านฉลากยาไม่ได้ ไม่เข้าใจฉลากยา หรือผู้สูงอายุ
เนื่องจากบนฉลากยาจะอธิบายวิธีการรับประทานยาในรูปแบบตัวอักษรเท่านั้น 3) ไม่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ
ไม่ว่าจะเป็นการรับรู้โอกาสเสี่ยง ความรุนแรง อุปสรรค และประโยชน์ เนื่องจากความรอบรู้ทางสุขภาพ
เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสัมพันธ์ต่อความร่วมมือในการรับประทานยา 4) ไม่มีระบบการติดตามอย่างต่อเนื่อง
หลังจากผู้ป่วยมาโรงพยาบาลในแต่ละครั้งส่งผลให้ผู้ป่วยขาดนัด เกิดปัญหาจากการใช้ยา โดยเฉพาะผู้สูงอายุ
อยู่ลำพัง หรือ อ่านหนังสือไม่ได้
วัตถุประสงค์การศึกษา
เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังรับประทานยาได้ถูกต้องตามแพทย์สั่ง โดยการเพิ่มความร่วมมือในการใช้ยา
(adherence) ของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ≥ ร้อยละ 80 ซึ่งได้กำหนดปัจจัยแห่งความสำเร็จและความท้าทาย
4 ประการดังนี้ 1) ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีความรู้เกี่ยวกับยาของตนเอง ≥ ร้อยละ 80 2) มีนวัตกรรมหรือเครื่องมือ
ช่วยในการรับประทานยาอย่างน้อย 1 นวัตกรรม 3) ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีความรอบรู้ด้านสุขภาพระดับสูง
≥ ร้อยละ 80 4) อัตราผู้ป่วยโรคเรื้อรังมาตรวจตามนัด ≥ ร้อยละ 90
วิธีการศึกษา
การพัฒนาช่วงที่ 1 ปี พ.ศ.2561 1) ประชุมทีมสหวิชาชีพและตัวแทนภาคีเครือข่าย เพื่อชี้แจงปัญหา
brainstorm ทบทวนวรรณกรรม และหาแนวคิดในการแก้ไขปัญหา 2) จัดกิจกรรม “หมออยากเล่า ผู้ป่วย
อยากฟัง” โดยเป็นกิจกรรมการให้ความรู้เกี่ยวกับสิ่งที่ผู้ป่วยอยากรู้ เป็นภาษาท้องถิ่น (มลายู) ซึ่งใช้เวลาในช่วง
ที่ผู้ป่วยต้องรอตรวจ 3) คิดนวัตกรรมที่เป็นเครื่องมือช่วยในการรับประทานยาของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
โดยได้มีการนำรูปทรงต่าง ๆ ที่คล้ายกับเม็ดยา มาแสดงบนฉลากยาร่วมกับฉลากยาข้อความที่มีอยู่เดิม จึงได้มี
การจัดทำตราปั้มยางรูปทรงต่าง ๆ เช่น วงกลม ครึ่งวงกลม หนึ่งส่วนสี่ของวงกลม รูปดาว และแก้วน้ำ
ซึ่งรูปทรงดังกล่าวสามารถมองเห็นได้ง่าย เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน 4) เภสัชกรสอนการรับประทานยาหรือให้ข้อมูล