Page 421 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 421
K54
2. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและญาติ มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับระบบการไหลเวียนของเลือดที่มีผล
ต่อภาวะสุขภาพ อยู่ในระดับสูง มากกว่าร้อยละ 80
3. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและญาติ พฤติกรรมสุขภาพ ลดภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง อยู่
ในระดับ มากกว่า ร้อยละ 60
4. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมีความพึงพอใจในการใช้ Blood system Model มากกว่า ร้อยละ 80
วิธีการศึกษา
การศึกษานี้เป็นศึกษาแบบกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียววัดก่อนหลัง โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง
แบบเจาะจง (purposive sampling) จำนวน 30 คน เป็นผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและญาติที่มารับบริการ
ที่โรงพยาบาลยะลา ตั้งแต่ มีนาคม-สิงหาคม 2566 โดยจัดกิจกรรมให้สุขศึกษา ใช้เวลา 20 นาที อธิบายเนื้อหา
เกี่ยวกับพยาธิสภาพของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคหลอดเลือดสมอง
พร้อม ใช้ นวัตกรรม “Blood System Model” ประกอบการสอน นักวิชาการสาธารณสุขจะทำการประเมิน
ความรู้ความเข้าใจและประเมินพฤติกรรมสุขภาพ โดยเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังการได้รับกระบวนการ
ให้สุขศึกษาโดยใช้นวัตกรรม นอกจากนี้ยังมีการประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่าง
ด้วยสถิติที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ ความถี่และร้อยละ
ขั้นตอนการดำเนินงาน
1. ขั้นเตรียมการ ได้แก่ ศึกษาข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วย, ประเมินความรู้ความเข้าใจและพฤติกรรม
สุขภาพ วิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุผู้ป่วยที่ยังมีพฤติกรรมไม่ถูกต้องร่วมกับคณะกรรมการพัฒนาระบบการดูแล
ผู้ป่วยเบาหวานและโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลยะลา และประชุมในหน่วยงานเพื่อระดมสมอง คิดค้น
นวัตกรรมใหม่ๆที่สามารถใช้ในการให้สุขศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
2. ขั้นตอนการผลิดนวัตกรรม “Blood System Model” ได้แก่ เตรียมวัสดุอุปกรณ์ เช่น สายยาง
สำลี ขวดน้ำ สายดำรัดขวดน้ำ ลูกสูบยางแดง กระดาษ A4 ฟิลเจอร์บอร์ด และ Syring ประดิษฐ์นวัตกรรม
ดังภาพ
3. ทดลองใช้นวัตกรรม เพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้นและเหมาะสมกับการใช้งาน
4. นำนวัตกรรมไปใช้ในการให้สุขศึกษาแก่ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มารับบริการที่โรงพยาบาลยะลา
ทั้งที่ตึกผู้ป่วยใน หน้าห้องตรวจผู้ป่วยนอก คลินิกเบาหวานและคลินิกความดันโลหิตสูง
5. ประเมินประสิทธิผลของ “Blood System Model” โดยเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจและ
พฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ก่อนและหลังใช้นวัตกรรม
6. ประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วย ญาติและเจ้าหน้าที่ผู้ใช้งาน