Page 419 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 419

K52


                  ผลการศึกษา
                         ผลผลิตจากการดำเนินการประกอบด้วย 1) ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีความรู้เกี่ยวกับยาของตนเอง ≥ ร้อยละ
                  80 โดยจากผลการดำเนินงานพบว่าเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 36.50 ในปี 2560 เป็นร้อยละ 89.60, 91.21, 90.10,
                  89.52, และ 91.13 ในปี 2561-2565 ตามลำดับ 2) มีนวัตกรรมหรือเครื่องมือช่วยในการรับประทานยาอย่าง
                  น้อย 1 นวัตกรรม โดยจากผลการดำเนินงานพบว่าในปี 2560 ไม่มีนวัตกรรม ในปี 2561 มีนวัตกรรม 1
                  นวัตกรรม คือ ตราปั้มยางรูปทรงต่าง ๆ คล้ายเม็ดยา และในปี 2562 มีนวัตกรรม 1 นวัตกรรม คือ ซองยา
                  รูปภาพ และในปี 2563-2565 ได้มีการใช้นวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นจนมาถึงปัจจุบันอย่างยั่งยืน 3) ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

                  มีความรอบรู้ด้านสุขภาพระดับสูง ≥ ร้อยละ 80 โดยจากผลการดำเนินงานพบว่าเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 38.22 ใน
                  ปี 2560 เป็นร้อยละ 83.10, 85.18, 85.05, 83.23 และ 84.32 ในปี 2561-2565 ตามลำดับ 4) อัตราผู้ป่วย
                  โรคเรื้อรังมาตรวจตามนัด ≥ ร้อยละ 90 โดยจากผลการดำเนินงานพบว่าเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 66.67 ในปี 2560
                  เป็นร้อยละ 93.33, 94.89, 93.15, 92.32 และ 93.40 ในปี 2561-2565 ตามลำดับ และในส่วนของผลลัพธ์
                  ของการพัฒนาผลงาน คือ ความร่วมมือในการใช้ยา (adherence) ของผู้ป่วยโรคเรื้อรังเพิ่มขึ้นจากร้อยละ
                  25.85 ในปี 2560 เป็นร้อยละ 94.22, 96.87, 95.37, 94.48, 96.33 ในปี 2561-2565 ตามลำดับ โดยจะเห็น
                  ได้ว่าผลลัพธ์จากการดำเนินการผลงานดีขึ้นกว่าก่อนพัฒนาอย่างก้าวกระโดด จากผลผลิตส่งผลให้ผลลัพธ์บรรลุ
                  ตามวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้เป็นอย่างมาก

                  อภิปรายผล
                         ผลจากการพัฒนาผลงานมีผลลัพธ์ที่สะท้อนผลกระทบเชิงบวกและเกิดประโยชน์ต่อสังคมหรือประเทศ

                  คือ ในด้านสาธารณสุขพบว่าผู้ป่วยมีความร่วมมือในการใช้ยามากถึงร้อยละ 96.87 ในปี 2562 และยังบรรลุ
                  เป้าหมายจนถึงปัจจุบัน ทำให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังสามารถคุมโรคให้อยู่ในเป้าหมายของการรักษาได้มากขึ้น เช่น
                  ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเป้าหมายเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 11.22
                  ในปี 2560 เป็นร้อยละ 53.42  ในปี 2562 ผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมน้ำตาลในเลือดได้ตามเป้าหมาย
                  เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 19.02 ในปี 2560 เป็นร้อยละ 50.21 ในปี 2562  ผู้ป่วยโรคหัวใจสามารถควบคุมค่า
                  การแข็งตัวของเลือดให้อยู่ในช่วงของการรักษาเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 30.50 เป็นร้อยละ 85.67 พบผู้ป่วยพิการ
                  และทุพลภาพลดลงจาก 111 ราย ในปี 2560 เป็น 33 รายในปี 2562 เป็นต้น ส่วนในด้านสังคมและเศรษฐกิจ
                  พบว่าการขาดงานและสูญเสียรายได้ลดลงทั้งผู้ป่วยและญาติผู้ดูแล เสียค่าใช้จ่ายลดลงในการรักษาพยาบาล
                  จากการควบคุมโรคไม่ได้ตามเป้าหมาย และในปี 2562 สามารถลดมูลค่าสูญเปล่าด้านยาจากยาเหลือใช้ของ

                  ผู้ป่วยที่ขาดความร่วมมือในการใช้ยาได้ถึง 480,952 บาท

                  สรุปและข้อเสนอแนะ
                         ปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลอย่างมาก คือการมีนวัตกรรมช่วยในการรับประทานยาซึ่งมีประโยชน์
                  ต่อผู้ป่วยอย่างมาก และการพัฒนาผลงานในบริบทที่กลุ่มเป้าหมายไม่เข้าใจภาษาไทย อ่านหนังสือไม่ได้
                  ผู้สูงอายุ จำเป็นต้องมีการศึกษาพื้นที่และใช้นวัตกรรมช่วยให้เข้าใจมากขึ้น โดยมีการขยายผล 1) ปี 2562
                  ขยายผลนวัตกรรมตราปั้มรูปทรงคล้ายเม็ดยาต่าง ๆ ไปใช้งานใน รพ.สต. จำนวน 16 รพ.สต. ได้รับรางวัล
                  ชนะเลิศผลงานเด่นระดับภาคใต้ และรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ระดับประเทศ ได้รับเชิญออกบูทนำเสนอผลงาน
                  เด่นระดับประเทศ 2) ปี 2563 ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 (NCD Clinic Plus ระดับเขตบริการ
                  สุขภาพที่ 12) ได้รับการนำเสนอ Sharing Best Practice ในงานประชุมการเพิ่มมูลค่างานเภสัชกรรมในพื้นที่

                  จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ขยายผลการใช้นวัตกรรมช่วยในการรับประทานยาไปยังโรงพยาบาลชุมชนทุกแห่ง
                  ในจังหวัดยะลา ได้รับการศึกษาดูงานจากโรงพยาบาล 36 โรงพยาบาล 3) ปี 2565 ได้รับคัดเลือกนำเสนอ
                  ผลงานเด่น ณ งานมหกรรมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1
                  ณ งานประชุมวิชาการโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ 4) ปี 2566 ได้รับรางวัลเลิศรัฐ ระดับดี และ
                  คัดเลือกนำเสนอผลงานวิชาการงานประชุม HA Forum
   414   415   416   417   418   419   420   421   422   423   424