Page 418 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 418
K51
การรับประทานยาแบบ two way communication 5) อบรม อสม. เกี่ยวกับการติดตามการใช้ยาของผู้ป่วย
โรคเรื้อรังในชุมชน 6) พยาบาลทำการโทรศัพท์เพื่อแจ้งเตือนผู้ป่วยให้มาตรวจตามนัด นอกจากนี้ยังมีการแจ้ง
วันมาตรวจตามนัดโดย อสม. ในพื้นที่อีกช่องทางหนึ่ง 7) จัดส่งยาโดยเจ้าหน้าที่จิตอาสาให้กับ
ผู้ป่วยที่ไม่สามารถมาตรวจตามนัดได้ 8) ประเมินความมือในการใช้ยาของผู้ป่วยโรคเรื้อรังเมื่อมาตรวจตามนัด
ครั้งถัดไป การพัฒนาช่วงที่ 2 ปี พ.ศ.2562 1) รวบรวมข้อจำกัดจากการใช้ตราปั้มสัญลักษณ์รูปทรงต่าง ๆ
เพื่อต้องการเปลี่ยนวัสดุจากรูปแบบเดิมแต่ทำให้คงทน ไม่หลุด และเห็นชัดเจนมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม 3) ออกแบบ
ซองยาแบบใหม่ ซึ่งเป็นการนำสัญลักษณ์รูปทรงต่าง ๆ ใส่ไปด้านหน้าของซองยา กลายเป็นซองยาที่มีสัญลักษณ์
รูปทรงต่าง ๆ ตามวิธีการใช้ยาแต่ละรายการ เรียกซองยาดังกล่าวว่า “ซองยารูปภาพ” โดยจากการทบทวน
วรรณกรรมพบว่าโรงพยาบาลรามันเป็นแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทยที่ได้สร้างนวัตกรรม”
ซองยารูปภาพ” 4) จัดทำวีดีโอสอนวิธีการใช้ยาร่วมกับซองยารูปภาพเป็นภาษาท้องถิ่น (มลายู)
5) ติดตั้ง smart TV บริเวณจุดนั่งรอต่าง ๆ เพื่อเปิดวีดีโอสอนวิธีการใช้ยาร่วมกับซองยารูปภาพให้ผู้ป่วยได้ดูใน
ระหว่างรอตรวจ/รอรับยา 6) จัดกิจกรรม road map ไปยังคลินิกโรคเรื้อรังต่าง ๆ ในโรงพยาบาบาล ไปยัง รพ.
สต. รวมทั้งหมด 16 รพ.สต. และไปยังในชุมชนอีกด้วย 7) ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่จิต
อาสาส่งยาไปให้ผู้ป่วยที่ไม่สามารถมาตรวจตามนัดได้
ประชุมสหวิชาชีพ/ภาคีเครือข่าย หมออยากเล่า ผู้ป่วยอยากฟัง อบรม
อสม. และติดตามที่บ้านผู้ป่วย
เจ้าหน้าที่โทรศัพท์เตือนก่อนวันนัด พัฒนาศักยภาพและส่งยาของเจ้าหน้าที่จิต
อาสา Road map
ตราปั้มยางรูปทรงต่าง ๆ เช่น วงกลม ครึ่งวงกลม รูปดาว และแก้วน้ำ
ซองยารูปภาพและวีดีโออธิบายการใช้ซองยารูปภาพ