Page 47 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 47

A8


                         2) เพิ่มทีมสวนหัวใจในโรงพยาบาลหาดใหญ่ โดยใช้ทรัพยากรแพทย์เฉพาะทางที่มีในจังหวัด
                         3) ลดขั้นตอนการดูแลผู้ป่วย Refer ที่อาการคงที่ ให้สามารถเข้าถึงการเปิดหลอดเลือดได้ทันที
                  โดยไม่ต้องผ่านห้อง ER

                  ผลการศึกษา
                                            ตัวชี้วัด                        เป้าหมาย  2565  2566  2567
                   ร้อยละของผู้ป่วย STEMI ที่ได้รับการเปิดหลอดเลือดโดย PPCI   >80%       12.17  55.71  86.54

                   Door to device time (Median)                              ≤90นาที  105       36      42
                   อัตรา STEMI Dx to device time ≤120 นาที                   >60 %       -      62.05  55.81
                   อัตราตายของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด STEMI   < 9%     12.27  9.14  7.69
                   ระยะเวลาวันนอนเฉลี่ยของผู้ป่วย STEMI                      ≤ 5 วัน     8.11  5.52  4.78


                  อภิปรายผล


















                         จากการพัฒนาทีมสวนหัวใจในโรงพยาบาล เพื่อขยายการให้บริการเปิดหลอดเลือดโดยวิธี PPCI
                  ช่วยทำให้ผู้ป่วย STEMI เข้าถึงการบริการได้ครอบคลุมเพิ่มขึ้นจาก 12% เป็น 86% ด้านการประสาน
                  การส่งต่อ การสร้างแนวปฏิบัติที่ตรงกับบริบทภายในจังหวัดสงขลา การตามรอยกระบวนการดูแล การติดตาม
                  ตัวชี้วัดระยะเวลาในการเข้ารับบริการ ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญที่ส่งผลให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการที่รวดเร็ว

                  และรอดชีวิต
                  สรุปและข้อเสนอแนะ

                         การพัฒนาระบบการส่งต่อโดยใช้กระบวนการพัฒนาคุณภาพ โดยใช้ lean concept
                  ในเครือข่ายจังหวัดสงขลา และกระบวนการภายในโรงพยาบาลหาดใหญ่ ช่วยให้ทีมสามารถลดระยะเวลา
                  ในการเข้าถึงการเปิดหลอดเลือดของผู้ป่วย Door to device time (Median) จาก 105 นาที เป็น 36 และ
                  42 นาที ในปี 2566 ถึง 2567 ส่งผลให้อัตราตายผู้ป่วยลดลงจากร้อยละ 12.27 ในปี 2565 เป็น 7.69 ในปี 2567
   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52