Page 48 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 48

A9


                      การศึกษารูปแบบและผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวในคลินิกหัวใจล้มเหลว


                                                                                            นายชัยพร การะเกตุ

                                                                   โรงพยาบาลเชียงคำ จังหวัดพะเยา เขตสุขภาพที่ 1
                                                                                               ประเภท วิชาการ


                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย
                           ภาวะหัวใจล้มเหลว (congestive heart failure) เป็นปัญหาสำคัญของสาธารณสุขทั่วโลก ส่งผลให้
                  ทำกิจวัตรประจำวัน และกิจกรรมต่างๆได้ลดลงอาจมีอาการรุนแรงจนส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ จากรายงาน
                  ชาวอเมริกันอายุ 40 ปีขึ้นไป ประมาณ 1 คนในทุก 5 คน หรือมากกว่า 6 ล้านคน มีภาวะโรคหัวใจล้มเหลว
                  และคาดว่าตัวเลขจะมากขึ้นถึงร้อยละ 46 ในอีก 15 ปีข้างหน้า และประมาณ 800,000 คน ในปี 2030 ในแถบ

                  เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความชุกร้อยละ 5-7 ผู้ป่วยจำนวนมากต้องกลับมารักษาในโรงพยาบาลด้วยภาวะ
                  หัวใจล้มเหลวซ้ำหลายครั้ง ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยแย่ลง และเกิดความเสี่ยงของการเสียชีวิตมากขึ้น
                           แผนพัฒนาระบบสุขภาพ พ.ศ. 2561-2565 กำหนดให้ จัดตั้งคลินิกหัวใจล้มเหลว เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับ
                  การดูแลตามมาตรฐาน โรงพยาบาลเชียงคำแม้เป็นโรงพยาบาลทั่วไปขนาดเล็ก (ระดับ M1) มีอายุรแพทย์

                  โรคหัวใจปฏิบัติงาน ตระหนักถึงความสำคัญนี้จึงได้จัดตั้งคลินิกหัวใจล้มเหลวโดยมีทีมสหสาขาวิชาชีพ
                  ให้บริการแก่ผู้ป่วยกลุ่มนี้อย่างครบวงจร

                  วัตถุประสงค์การศึกษา
                           การศึกษาในครั้งนี้จึงต้องการศึกษาผลลัพธ์ของการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวที่เข้ารับกา
                  รักษาในคลินิกหัวใจล้มเหลว เพื่อนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วย และ
                  ปรับปรุงรูปแบบการให้บริการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นต่อไป

                  วิธีการศึกษา
                           ศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนา (retrospective study) ในคลินิกหัวใจล้มเหลวโรงพยาบาลเชียงคำ

                  ปีงบประมาณ 2564-2565 มีรูปแบบการให้บริการ คือ ผู้ป่วยได้รับการตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง
                  (Echocardiogram) ผู้ป่วยที่มีสาเหตุที่แก้ไขได้จะได้รับการรักษาตามสาเหตุของโรค ผู้ป่วยที่ยังมีการบีบตัวของ
                  หัวใจห้องล่างซ้ายน้อยกว่าร้อยละ 40 นัดเข้าคลินิกหัวใจล้มเหลว พยาบาลประจำคลินิกซักประวัติ วัดสัญญาณ
                  ชีพ ตรวจประเมินด้วยการเดินเป็นระยะเวลา 6นาที (6 minute walk test; 6MWT) และพบเภสัชประเมิน

                  การใช้ยา แล้วเข้าพบแพทย์ แพทย์สั่งการรักษา ผู้ป่วยที่ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ หรือใช้ยาเสพติด จะถูกส่งพบ
                  จิตแพทย์เพื่อให้การบำบัด
                           เก็บข้อมูลจากเวชระเบียน ข้อมูลพื้นฐานและผลลัพธ์ของการรักษาได้แก่ ระยะเวลาที่เข้ารับการ
                  รักษาในคลินิกหัวใจล้มเหลว รายละเอียดการรับยาและการกินยา ความสามารถในการบีบตัวของหัวใจห้องล่าง
                  ซ้าย (left ventricular ejection function; LVEF) ความทนทานในการทำกิจกรรมประจำวัน (The New

                  York Heart Association Function  Classification; NYHA) ความสามารถในการทำงานของร่างกาย
                  ทดสอบโดยใช้ Six Minute Walk Test ให้ผู้ป่วยเดินทางราบเดินระยะเวลา 6 นาที ระดับคุณภาพชีวิตประเมิน
                  ตามแบบสอบถามระดับคุณภาพชีวิตมินนิโซต้าฉบับภาษาไทย (Minnesota with heart failure questionnaire)
                           รายงานข้อมูลข้อมูลพื้นฐานและผลลัพธ์ทางคลินิกใช้สถิติเชิงพรรณนา รายงานเป็น ร้อยละ ค่าเฉลี่ย

                  ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างค่าเฉลี่ยของตัวแปรอิสระ
                  ใช้สถิติ paired t-test โดยกำหนดให้ p-value มีค่านัยสำคัญทางสถิติน้อยกว่า 0.05
   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53