Page 458 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 458

L35

                  (t=12.050, p<0.001)  โดยอาจเป็นผลมาจากจากพอกยาสมุนไพรทำให้ลดอาการเจ็บปวดและความรุนแรง
                  ของการปวดข้อเข่าได้ในอิริยาบถต่างๆ ตามที่ได้กล่าวข้างต้น แสดงให้เห็นว่าสมุนไพรเมื่อนำมาพอกข้อเข่า

                  สามารถบรรเทาอาการปวดข้อเข่าได้
                         อีกประการหนึ่ง ภาวะปวดข้อเข่าเรียกตามการแพทย์แผนไทยได้ว่า “จับโปงเข่า” มาจากคำว่า
                  จับ-โป่ง-เข่า หมายถึง มีลมหรือน้ำจับให้โป่ง บวมขึ้น ซึ่งหากลมกระทำให้โป่งขึ้น เรียก จับโปงแห้ง จะมีอาการ
                  อักเสบในข้อน้อย แต่มีเสียงกร๊อบแกร๊บขณะเดินหรืองอข้อเข่า หากน้ำทำให้โป่งขึ้น เรียก จับโปงน้ำ มีอาการ

                  ปวด บวม แดง ร้อน เป็นอย่างมาก ทางการแพทย์แผนปัจจุบัน มีสาเหตุมาจากหลายประการ เช่น การสะสม
                  ของกรดยูริกตามข้อ ข้อเข่าเสื่อม ซึ่งสมุนพรพอกเข่า ไพล ขมิ้นอ้อย ขมิ้นชัน ขิง ซึ่งมีฤทธิ์ช่วยลดความร้อน
                  ของข้อเข่า ลดการอักเสบ ซึ่งนำมาเป็นแนวทางใช้ร่วมกับการรักษาทางการแพทย์แผนปัจจุบันได้เป็นอย่างดี
                  อีกทั้งการศึกษานี้มีขั้นตอนในการเตรียมที่ไม่ยุ่งยากและประหยัด เหมาะแก่การดูแลข้อเข่าในผู้สูงอายุที่มีแนวโน้ม

                  จะเป็นปัญหาด้านสุขภาพอันดับ 1 ในผู้สูงอายุได้ในอนาคต

                  สรุปและข้อเสนอแนะ
                         1. ควรศึกษากลุ่มเปรียบเทียบกับกลุ่มทดลอง ศึกษาแบบ randomized control trial เพื่อเพิ่ม
                  ความน่าเชื่อถือและคุณค่าของการวิจัยที่มากขึ้น

                         2. เกณฑ์คัดเข้า (Inclusion criteria) ช่วงอายุขยายเป็นอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป เพื่อจะได้คัดกรอง
                  กลุ่มที่เริ่มมีปัญหาข้อเข่า ผลจากการพอกเข่าจะช่วยอาการปวดเข่าระยะเริ่มต้น จะแตกต่างกับผู้ที่ปวดข้อเข่า
                  เรื้อรังมากน้อยเพียงใด
                         3. การใช้สมุนไพรและประสิทธิภาพของสมุนไพรแตกต่างกันแต่ละแหล่งและฤดูการ  การศึกษาและ
                  การใช้สมุนไพรศึกษาเพิ่มเติมในแต่ละพื้นที่ที่ใช้ทดลอง และใช้รักษาอาการปวดข้อเข่า
   453   454   455   456   457   458   459   460   461   462   463