Page 506 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 506
N14
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
- ร้อยละความเหมาะสมในการใช้ยาปฏิชีวนะที่ทำแบบประเมิน DUE 9 รายการ ทั้งใน Indication
Dose และ Duration มากกว่า 80
- อัตราเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะ 8 ชนิด ในกระแสเลือดต่ำกว่าปีปฏิทิน 2565
- อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยที่ติดเชื้อดื้อยา 8 ชนิด ในกระแสเลือดต่ำกว่าปีปฏิทิน 2565
- อุบัติการณ์ผู้ป่วยที่ติดเชื้อ CRAB CRKP CREC ในกระแสเลือด ต่อผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจ H/C
100,000 ราย ต่ำกว่าอุบัติการณ์เฉลี่ยของโรงพยาบาลในระดับเดียวกัน ปีปฏิทิน 2565
วิธีการศึกษา จากปัญหาที่พบ คณะผู้วิจัยจึงได้ดำเนินกิจกรรมการพัฒนา ระยะที่ 1 ดังนี้
1. แต่งตั้งคณะกรรมการป้องกันและการควบคุมการดื้อยาต้านจุลชีพอย่างบูรณาการ (AMR)
ประกอบด้วย แพทย์ระดับบริหาร, แพทย์หัวหน้าทีมรับผิดชอบงาน AMR, ตัวแทน PCT, เภสัชกร, พยาบาล
ควบคุมการติดเชื้อ (ICN), นักเทคนิคการแพทย์, งานจุลชีววิทยา, ผู้รับผิดชอบงานระบาดวิทยา และนักจัด
การสารสนเทศ
2. ประชุมติดตามผลการดำเนินงาน ทบทวนระบบ หาแนวทางแก้ไขปัญหาทุก 3 เดือน
3. รายงานข้อมูลเชื้อดื้อยาในโปรแกรม AMASS ทุก 6 เดือน แสดงข้อมูลภาพรวมในระดับประเทศ
4. แก้ไขและปรับปรุงแบบประเมิน DUE เพื่อให้ข้อมูลเป็นปัจจุบันตามแนวปฏิบัติการรักษาโรคและการใช้ยา
5. จัดทำ De-escalate Form เพื่อให้มีการปรับใช้ยาปฏิชีวนะตามที่จำเป็น
6. จัดทำ Antibiogram ในแต่ละปีให้แก่องค์กรแพทย์ เพื่อช่วยตัดสินใจในการ Empirical Therapy
7. ปรับปรุงการตรวจผล Culture & Susceptibility Test และรายงานผลเมื่อพบเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะ
8 ชนิด ใน Line ICC แบบ Real time
8. จัดอบรมความรู้ เรื่องการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ แก่บุคลากรทางการแพทย์
ในโรงพยาบาล
9. การส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยติดเชื้อดื้อยา: ภายใน รพ. ให้ติดสติ๊กเกอร์ “เชื้อดื้อยา” สีส้มที่หน้าชาร์ท
ผู้ป่วย, ระหว่าง รพ. ให้ติดสติ๊กเกอร์ “เชื้อดื้อยา” สีส้ม ในใบส่งต่อผู้ป่วย, ระหว่าง รพ. กับ ชุมชน: พยาบาล
แจกแผ่นพับให้ความรู้และคำแนะนำสำหรับผู้ป่วยที่มีเชื้อดื้อยาก่อนกลับบ้าน หากมีข้อบ่งชี้ในการเยี่ยมบ้าน
ให้ประสานงานกับทีมการดูแลสุขภาพผู้ป่วยที่บ้าน (Home Health Care)