Page 503 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 503

N11
                  กระบวนการส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลในภาคการเกษตร จังหวัดอำนาจเจริญ


                                 เภสัชกรหญิงจันทร์จรีย์ ดอกบัว, เภสัชกรหญิงจิราวรรณ ชาภักดี, เภสัชกรหญิงสุธิดา ปาบุตร
                                                        โรงพยาบาลปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ เขตสุขภาพที่ 10

                                                                                               ประเภท วิชาการ

                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย
                         สถานการณ์สินค้าเกษตรปี 2566 ของสำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร พบว่าสินค้าการเกษตรในระดับ

                  โลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีข้อกำหนดตามพรบ.มาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 เพื่อให้เป็นไป
                  ตามมาตรฐาน จึงทำให้มีการใช้ยาเพื่อบำบัดรักษาโรคในสัตว์ เพื่อเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของสัตว์ และเป็นการ
                  ทำให้สัตว์ปราศจากโรคก่อนส่งผลิตผล การบำบัดรักษาโรคในสัตว์จำเป็นต้องใช้ยาต่าง ๆ ในการรักษา
                  โดยเฉพาะอย่างยิ่งยาปฏิชีวนะที่มักใช้เพื่อการรักษาโรคระบาด ป้องกันโรคระบาด และเพื่อเร่งการเจริญเติบโต

                  การใช้ยาปฏิชีวนะพบว่ามีการใช้ก่อนจะพบโรค การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างกว้างขวางและใช้อย่างไม่เหมาะสม
                  เช่นนี้จะก่อให้เกิดเชื้อดื้อยาในสัตว์เพิ่มมากขึ้นและยังมีความเสี่ยงที่จะแพร่สู่สิ่งแวดล้อมและมนุษย์อีกด้วย
                  จากแผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทยพ.ศ. 2560-2564 “ลดการใช้ยาต้านจุลชีพใน

                  สัตว์ ร้อยละ 30” จึงจำเป็นต้องส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะด้วยความรับผิดชอบในการเลี้ยงสัตว์ เลือกใช้อย่าง
                  ชาญฉลาดและสมเหตุผล ซึ่งจะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของการแก้ไขปัญหาเชื้อดื้อยา โดยการกำหนดแนวทาง
                  ปฏิบัติอย่างถูกต้อง เหมาะสมจากผู้เชี่ยวชาญ อาศัยการมีส่วนร่วมของเครือข่ายเพื่อสร้างหลักประกันด้าน
                  สุขภาพและสวัสดิภาพของสัตว์เลี้ยง ลดยาตกค้างในเนื้อสัตว์และสิ่งแวดล้อมอันจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของ
                  ผู้บริโภคต่อไป จากโครงการสำรวจสถานการณ์การใช้ยาปฏิชีวนะในการเลี้ยงสัตว์ เขตอำเภอปทุมราชวงศา

                  พบว่าเกษตรกรใช้ยาปฏิชีวนะในการเลี้ยงสัตว์เพื่อช่วยป้องกันโรคและเร่งการเจริญเติบโต เมื่อสัตว์เจ็บป่วย
                  เกษตรกรจะไปซื้อยาจากร้านขายยาแผนปัจจุบันเป็นส่วนใหญ่ ร้อยละ 75 โดยยาปฏิชีวนะที่เรียกหาจะเป็น
                  กลุ่มยา Penicillin นอกจากนี้ยังพบการใช้ยา Colistin powder โรยในบ่อกุ้งซึ่งเป็นยาที่จำกัดการใช้ในทาง

                  ปศุสัตว์และยังพบยา Amoxicillin powder เป็นยาที่ไม่มีทะเบียนที่ได้มาจากเซลล์ขายยาและร้านขายยาสัตว์
                  และจากการสำรวจพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะ พบว่าเกษตรกรเลือกใช้ยาโดยไม่ได้ปรึกษาปศุสัตว์/สัตวแพทย์
                  ก่อนใช้ทุกครั้งส่งผลให้เกิดความคลาดเคลื่อนในการวินิจฉัยโรคและใช้ยาเกินขนาด  ในด้านผู้ประกอบการ
                  ร้านขายยาสัตว์ส่วนใหญ่ไม่สามารถให้คำแนะนำการใช้ยาได้ตามหลักวิชาการส่วนใหญ่จะเป็นการแนะนำการใช้

                  ตามฉลากยาหรือไม่ได้แนะนำการใช้ใดๆเลย นอกจากนี้ยังพบว่าสิ่งปฏิกูลที่เกิดขึ้นหลังจากการใช้ยาปฏิชีวนะ
                  ในสัตว์ถูกทิ้งลงสู่สิ่งแวดล้อมซึ่งมีโอกาสปนเปื้อนมาสู่คนได้  ดังนั้นควรมีการศึกษาสถานการณ์และจัดทำ
                  แนวทางการควบคุมกำกับการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลในภาคการเกษตรเพื่อให้เกิดการใช้ยาอย่าง
                  สมเหตุผลต่อไป

                  วัตถุประสงค์การศึกษา: เพื่อศึกษาสถานการณ์การจำหน่ายหรือการกระจายยาปฏิชีวนะสำหรับสัตว์และ

                  พัฒนาแนวทางกำกับการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล จังหวัดอำนาจเจริญ
                  วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการ กลุ่มประชากรที่ศึกษา ได้แก่ ร้านขายยาสัตว์ ร้านขายของ
                  การเกษตร ร้านขายอาหารสัตว์ จังหวัดอำนาจเจริญ จำนวน 53 แห่ง ซึ่งแหล่งข้อมูลกลุ่มประชากรได้จาก

                  สำนักงานปศุสัตว์ และ สำนักงานพานิชย์ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ด้วยแบบสอบถาม ดำเนินการปี 2566
                  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา

                  ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างโดยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 66 อายุ 35-45ปี ร้อยละ 45.3 ระยะเวลาเปิด
                  ทำการร้าน ส่วนใหญ่ร้อยละ 39.6 และเป็นร้านจำหน่ายอาหารสัตว์ ร้อยละ 66 โดยการจำหน่ายยาปฏิชีวนะ
   498   499   500   501   502   503   504   505   506   507   508