Page 520 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 520

N28
                                           RDU ชะลอไตเสื่อม in NCD PCU เมืองยศ


                                                               เภสัชกรหญิงมธุรส เสน่หา,เภสัชกรหญิงนิตยา มิตรอุดม
                                                                   โรงพยาบาลยโสธร จังหวัดยโสธร เขตสุขภาพที่ 10

                                                                                               ประเภท วิชาการ

                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย
                         ในสถานการณ์ปัจจุบันผู้ป่วยโรคเรื้อรังเบาหวาน ความดันโลหิตสูง มีจำนวนผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มจำนวน

                  มากขึ้นทุกวัน ซึ่งโรคไตวายเรื้อรังที่เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อย ที่ต้องเฝ้าระวังในผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าว
                  สาเหตุสำคัญส่วนหนึ่งเกิดจากปัญหาการใช้ยา คือ ผู้ป่วยไม่ให้ความร่วมมือในการใช้ยาตามคำสั่งแพทย์
                  เนื่องจากความเชื่อผิดๆต่อการใช้ยา ว่ากินยาเยอะทำให้ไตเสื่อม,จากการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยา
                  เป็นผลให้ควบคุมภาวะโรคไม่ได้,จากการใช้ยาที่ไม่เหมาะสม ใช้ยาพร่ำเพรื่อ ใช้ยาในผู้มีข้อห้ามใช้ หรือไม่ได้ปรับ

                  ขนาดยาตามค่าไต เช่น การใช้ NSAIDs การใช้ยาสมุนไพร/ยาต้มยาหม้อ เป็นต้น ซึ่งหากเภสัชกรสามารถให้
                  ความรู้ และสร้างความเข้าใจต่อการใช้ยาโรคเรื้อรัง เฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา รับรู้สภาวะ
                  การทำงานไตของตน  แก่ผู้ป่วยและญาติ ให้สามารถเฝ้าระวังและหลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ไม่เหมาะสมได้ ไม่ใช้ยาแก้

                  ป่วยลดอักเสบ NSAIDs -ยาสมุนไพร-อาหารเสริมโดยเกินความจำเป็น, แพทย์สั่งจ่ายยาแก่ผู้ป่วยอย่างเหมาะสม
                  จะสามารถช่วยชะลอสภาวะไตเสื่อมในกลุ่มผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวได้ ดังนั้นเภสัชกร งานเภสัชกรรมปฐมภูมิ
                  กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลยโสธร จึงได้ดำเนินกิจกรรมการศึกษา RDU ชะลอไตเสื่อม  in NCD  PCU เมืองยศ

                  วัตถุประสงค์การศึกษา
                         1.  เพื่อให้ผู้ป่วยและ/หรือญาติผู้ดูแล รับรู้สภาวะการทำงานไตของตน สามารถเฝ้าระวังและหลีกเลี่ยง

                  การใช้ยาที่ไม่เหมาะสมได้ (NSAID)
                         2.  แพทย์สั่งจ่ายยาแก่ผู้ป่วยอย่างเหมาะสม ทั้งขนาด และรายการยาตามค่าการทำงานไตของผู้ป่วย
                         3.  เฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา เพื่อลดอันตรายจากการใช้ยาและปัญหาความร่วมมือ
                  ในการใช้ยาจาก ADR

                  วิธีการศึกษา

                         1.  รูปแบบการศึกษา: เป็น R2R แบบเชิงพรรณนา
                         2.  กลุ่มเป้าหมาย: ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มารับการบริการที่ PCU.เมืองยศ โรงพยาบาลยโสธร
                         3.  การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง และคัดออก: ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มารับการรักษา ที่ PCU. เมืองยศ
                  โรงพยาบาลยโสธร ในช่วงที่ทำการศึกษาปี 2566 -2567 และผู้ป่วยบริหารยาเอง
   515   516   517   518   519   520   521   522   523   524   525