Page 523 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 523
N31
การดำเนินงานขับเคลื่อนชุมชนรอบรู้ผลิตภัณฑ์สุขภาพด้วยเครือข่าย บวร.ร.ชุมชนละแม
เภสัชกรหญิงสุภมาส วังมี
โรงพยาบาลละแม จังหวัดชุมพร เขตสุขภาพที่ 11
ประเภท วิชาการ
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
เนื่องด้วยในปี 2561 ฝ่ายเภสัชกรรม ได้รับข้อร้องเรียนจาก อสม.เรื่องการจำหน่ายยาชุด / ATBs
ในร้านชำ จึงได้นำความเสี่ยงที่ได้รับนำเสนอในประชุม คปสอ.ละแม กำหนดเป็นวาระที่ต้องเร่งดำเนินการแก้ไข
และนำเรื่องเข้าสู่ พชอ.มีมติให้ดำเนินการทำเป็น MOU RDU อำเภอละแม ปี 2562 ได้ดำเนินการโครงการ
ใช้ยาอย่างสมเหตุผลในร้านชำ โดยสร้างความรอบรู้ให้แก่ อสม./ผู้นำชุมชน/ผู้ประกอบการร้านชำ และ
ออกตรวจร้านชำทั้งอำเภอละแม จำนวน 98 ร้าน ผลการดำเนินงานพบว่า ร้อยละ 81.82 ผู้ประกอบการ
ร้านชำมีความรู้เรื่องความปลอดภัยของอาหาร ยา และเครื่องสำอาง, ร้อยละ 56.06 ร้านชำมีรายการยา
อันตรายจำหน่าย ในร้านชำ, ร้อยละ 7.58 ร้านชำมียาหมดอายุจำหน่าย, ร้อยละ 3.03 ร้านชำจำหน่ายยาชุด
และร้อยละ 46.97 ร้านชำมีของหมดอายุบนชั้นพร้อมจำหน่าย ปี 2563-2564 เกิดการระบาดของ Covid -19
ไม่ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ทำได้เพียงการให้ความรู้เรื่องการใช้ยาอย่างสมเหตุผลแก่คุณครูและนักเรียน
ผ่านระบบ ZOOM ปี 2565 ภายใต้สถานการณ์การระบาด ร้านชำเปรียบเสมือนห้างใกล้บ้านของแต่ละชุมชน
การกลับมาของการใช้ยาอย่างไม่สมเหตุผลน่าจะกลับมาอีกครั้ง จึงได้ดำเนินการของบสนับสนุนจาก
อบต.ละแม เพื่อการดำเนินโครงการ RDU ในร้านชำที่ได้มาตรฐานซ้ำจำนวน 18 ร้าน อีกครั้งในตำบลละแม
พบว่า ร้อยละ 85 ร้านชำมีรายการยาอันตรายจำหน่ายแต่ไม่พบร้านชำจำหน่ายยาชุด, NSAIDs และATBs
จำหน่ายในร้านชำ, ร้อยละ 47 ร้านชำมียาหมดอายุจำหน่าย และร้อยละ 39 ร้านชำมีของหมดอายุบนชั้นพร้อม
จำหน่าย มีการประเมินความรอบรู้พบว่า ผู้ประกอบการร้านชำ ตัวแทนผู้บริโภค และอาสาสมัครคุ้มครอง
ผู้บริโภคมีความรู้ เรื่องความปลอดภัยของอาหาร ยา และเครื่องสำอาง ร้อยละ 85 จึงได้วางแผนดำเนิน
ต่อเนื่องในปี 2566
วัตถุประสงค์การศึกษา
1. เพื่อให้ผู้บริโภคในชุมชนมีความปลอดภัยจากการใช้ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ
2. เพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในวัด โรงเรียน และร้านชำ
3. เพื่อให้มีแกนนำการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในชุมชน
วิธีการศึกษา: ในปี 2566 ได้ของบสนับสนุนจาก อบต. ละแมเพื่อการดำเนินการสร้างความรอบรู้แก่ทีมแกนนำ
อสม./ผู้นำชุมชน ตำบลละแมทุกหมู่จำนวน 11 หมู่บ้าน ออกตรวจร้านชำซ้ำจำนวน 35 ร้าน และดำเนินงาน
ขยายสู่วัดทุกวัดจำนวน 7 แห่ง โดยดำเนินการการจัดการยาในวัดและวางระบบเพื่อให้อสม.ดำเนินการต่อไป
และโรงเรียนทุกโรงเรียน จำนวน 8 แห่ง โดยดำเนินการเรื่องการสำรองยาในโรงเรียน/ห้องพยาบาลปลอดภัย
และดำเนินการเพื่อเข้าร่วมประเมิน อย.น้อย 2 แห่ง ด้วย และมีเป้าหมายในการสร้างแกนนำ อสม.ด้าน RDU
ในชุมชนโดยทีมเครือข่ายสุขภาพชุมชน(เครือข่าย บวร.ร.ชุมชนละแม) เกิดร้านชำ/วัด/โรงเรียนต้นแบบ โดยใช้
แบบสำรวจมาตรฐานผลิตภัณฑ์สุขภาพในร้านชำ/โรงเรียน/วัด และแบบประเมิน ความรอบรู้ด้านการใช้ยา
อย่างสมเหตุผลเป็นเครื่องมือในการดำเนินงาน RDU community
ผลการศึกษา: ผลการดำเนินงานโดยเครือข่าย บวร.ร.ชุมชนละแม ปี 2566 พบว่า ร้อยละ 72.22 ร้านชำยังมี
รายการยาอันตรายจำหน่าย แต่ไม่พบร้านชำจำหน่ายยาชุด, NSAIDs และ ATBs จำหน่ายในร้านชำ, ร้อยละ
2.8 ร้านชำมียาหมดอายุจำหน่าย, ร้อยละ 22.22 ร้านชำมีอาหารหมดอายุบนชั้นพร้อมจำหน่าย, ร้อยละ 72.22