Page 521 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 521

N29
                  ผลการศึกษา
                         1. เกิดนวัตกรรม ในการส่งมอบยา พร้อมเอกสารเฝ้าระวังการใช้ยา และ เตือนผู้ป่วย CKD

                     ภาพที่ 1 ภาพกิจกรรมผู้รับบริการ รับส่งมอบยาพร้อมคำแนะนำ และเอกสารเฝ้าระวังADR จากเภสัชกร
                      และเอกสารใบแทรกในสมุดประจำตัวผู้ป่วยเรื้อรัง  เพื่อเฝ้าระวังและติดตาม ADR จากการใช้ยาเรื้อรัง









                         ภาพที่ 2 ฉลากยามาตรฐานตามหลัก RDU และ ฉลากเสริม พร้อมคำแนะนำ ในยาโรคเรื้อรัง







                      ภาพที่ 3 ป้ายแจ้งเตือนผู้ป่วย CKD stage 3 UP และค่าGFRแจ้งสภาวะไตผู้ป่วย + รายการยาที่ควร
                                                         หลีกเลี่ยงการใช้








                         2.  ผลการดำเนินงานเฝ้าระวัง และติดตามผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง
                            2.1 การให้คำแนะนำ และเฝ้ารระวังการใช้ยาในกลุ่มเสี่ยง CKD

                                จำนวนผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่รับยาที่ PCU.เมืองยศ จำนวน  1150  ราย พบว่ามีระดับการทำงาน
                  ของไตอยู่ระดับ 3 ขึ้นไป(GFR<60) ปี 2566 จำนวน 40 ราย(ร้อยละ3.48) และต้องเฝ้าระวัง 13 ราย (GFR>60
                  แต่มีแนวโน้ม อัตราลดลงสูงต่อปี) (ร้อยละ1) เป็นเพศชาย 30 ราย และเพศหญิง 23 ราย มีอายุอยู่ในช่วง

                  54 – 89 ปี อายุเฉลี่ย 71ปี ส่วนใหญ่มีอายุ 77 ปี ประกอบด้วยผู้ป่วยโรคเก๊าต์ ,โรคเบาหวาน ,โรคเบาหวาน
                  และความดันโลหิตสูง-ไขมันสูง ,โรคความดันโลหิตสูง  และ โรคไขมันในเลือดสูง (7, 2, 22, 26, 2 ราย
                  ตามลำดับ) ซึ่งปี 2565 ผลงานการให้คำปรึกษา-การแนะนำชะลอไตเสื่อมในกลุ่มเป้าหมาย ในปี 2566 -
                  ปี 2567 ได้จำนวน  26 ราย (ร้อยละ 49), 49 ราย (ร้อยละ 92 ),ปี 2567 รายใหม่อีก 4  ราย รวมทั้งสิ้นจำนวน

                  53 ราย คิดเป็นร้อยละ 100 ตามลำดับ พบว่าสาเหตุที่ทำให้ค่าการทำงานของไตลดลง เกิดจากอื่นๆที่นอกจาก
                  โรค จำนวน 10 ราย (ร้อยละ18.87) คือ ดื่มน้ำน้อย 1 ราย,รับประทานยา NSIADs บ่อยครั้ง 6 ราย และ
                  รับประทานอาหารเสริม – สมุนไพร 3 ราย (จำนวน1, 6, 3 ราย ตามลำดับ)
                            2.2 ผลการติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา

                                พบว่าเกิดจำนวน  116 ราย (ร้อยละ10) อาการที่พบ คือ  เท้าบวม -เหงือกงอก (amlodipine)
                  ,ปวดกล้ามเนื้อ (simvastatin) ,เหนื่อย ,วิงเวียนศรีษะ-หน้ามืด (hydralazine) ,ระดับโปรแทสเซียมสูง - ไอ
                  (enalapril),ระดับยูริคสูง- ระดับโปรแทสเซียมต่ำ (hctz , moduretic) ผื่นคัน  การจัดการ คือ 1.แนะนำ
                  ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 2.แพทย์ปรับลดขนาดยา 3.แพทย์ให้หยุดหรือปรับเปลี่ยนชนิดยา (จำนวน  31,4,81

                  ราย ตามลำดับ)

                  อภิปรายผล: เนื่องจากบุคลากรผู้ให้บริการ แพทย์ - เภสัชกรมีการหมุนเวียน มาทำงานในการดูแลผู้ป่วยทำให้
                  ขาดความไม่ต่อเนื่องในการให้คำแนะนำ และติดตามผู้ป่วย ทำให้เกิดความแตกต่างในปี 2566 และปี 2567
   516   517   518   519   520   521   522   523   524   525   526