Page 526 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 526

O1

                           การพัฒนาระบบบริการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยระยะกลาง (Intermediate Care)

                                                 จาก IMC bed สู่ IMC ward


                                                      นางพรหมพร ทุ่งปรือ นางรีน่า ว่านายรัก นางสาวจันทริกา เส็มหลี
                                                               นางสาวอาภรณ์ หลังยา และนางสาวดวงกมล นริศราวุธ

                                                                     โรงพยาบาลท่าแพ จังหวัดสตูล เขตสุขภาพที่ 12

                                                                                               ประเภท วิชาการ


                  ความส าคัญของปัญหาวิจัย
                         สถานการณ์โรคหลอดเลือดสมอง ในปี 2562 (ข้อมูลจากองค์การโรคหลอดเลือดสมองโลก) ทั่วโลก

                  พบผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมากกว่า 101 ล้านคน เป็นผู้ป่วยรายใหม่ 12 ล้านคน (ทุกๆ 3 วินาที พบผู้ป่วย

                  รายใหม่ 1 คน) และเสียชีวิตมากถึง 6.5 ล้านคน ส าหรับประเทศไทยข้อมูลจากรายงานสถิติสาธารณสุข
                  กระทรวงสาธารณสุขในปี 2566 ประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมากถึง 349,126 ราย เสียชีวิต

                  36,214 ราย เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่มีอายุน้อยกว่า 70 ปี กระทรวงสาธารณสุข

                  ก าหนดนโยบาย Intermediate care service plan ขึ้น โดยก าหนดให้โรงพยาบาลชุมชนทุกแห่งให้
                  การบริการดูแลผู้ป่วยระยะกลาง (Intermediate care) ซึ่งเป็นระยะเปลี่ยนผ่านของผู้ป่วย (Transitional care)

                  ระหว่างหลังภาวะวิกฤติ หรือเฉียบพลัน (Acute conditions) และการดูแลที่บ้านหรือชุมชน โดยมีความ
                  เชื่อมโยงและต่อเนื่องกัน กลุ่มผู้ป่วยระยะกลางที่มีสัญญาณชีพและระบบประสาทคงที่แล้ว แต่ยังมี

                  ความบกพร่องทางด้านเคลื่อนไหว และการท ากิจวัตรประจ าวัน รวมไปถึงคนดูแลยังไม่มีศักยภาพในการดูแล

                  ผู้ป่วยที่บ้านและชุมชน ผู้ป่วยกลุ่มนี้ยังคงต้องการการดูแลฟื้นฟูสภาพระยะกลาง โดยแพทย์ พยาบาล และ
                  ทีมสหสาขาวิชาชีพ ในสถานบริการสุขภาพอย่างต่อเนื่อง

                         ในปี 2564 - 2565 โรงพยาบาลท่าแพ รับ Admit ผู้ป่วย IMC  เป็นแบบ IMC bed (less intensive
                  IPD rehab program) มีผู้ป่วย 22 ราย และ 14 ราย ตามล าดับ รวม 36 ราย เป็นผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง 35 ราย

                  และมีความบกพร่องทางด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว คิดเป็นร้อยละ 97.22 จ านวนวันนอนเฉลี่ยต่อราย 3 วัน

                  ปี 2565 มีผู้ป่วยที่บรรลุเป้าหมายของการฟื้นฟูเมื่อจ าหน่าย คิดเป็นร้อยละ 71.43 (10/14) ในปี 2566
                  เปิดให้บริการ IMC ward ขนาด 6 เตียง จัดบริการฟื้นฟูสภาพแบบเข้มข้น (Intensive rehab) โดยสหวิชาชีพ

                  รับ Admit ผู้ป่วย IMC ทั้งจังหวัดสตูล มีผู้ป่วย Admit 45 ราย ส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง 32 ราย

                  จ านวนวันนอนเฉลี่ย 6 วัน จากการให้บริการพบว่ามีผู้ป่วยที่บรรลุเป้าหมายของการฟื้นฟู คิดเป็นร้อยละ 86.67
                  (39/45) แสดงให้เห็นว่า การให้บริการฟื้นฟูสภาพแบบ IMC ward (Intensive rehab IPD program)

                  โดยทีมสหวิชาชีพ ท าให้ผู้ป่วยสามารถบรรลุเป้าหมายของการฟื้นฟูเพิ่มขึ้น  โรงพยาบาลท่าแพจึงได้ให้

                  ความส าคัญในการพัฒนาระบบบริการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยระยะกลาง (Intermediate Care) แบบ IMC ward
                  ร่วมกับทีมสหวิชาชีพในเครือข่ายจังหวัดสตูล เพื่อให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้สามารถช่วยเหลือตัวเองได้มากขึ้น ป้องกัน

                  ภาวะแทรกซ้อน ลดความพิการหรือภาวะทุพพลภาพ ลดภาระให้กับครอบครัวและชุมชนและที่ส าคัญสามารถ
                  เพิ่มคุณภาพชีวิตในการด ารงชีวิตได้
   521   522   523   524   525   526   527   528   529   530   531