Page 540 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 540

O15

                  อาการของโรคที่สลับซับซ้อน มีความพิการหลงเหลือ ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยไม่สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจ า

                  วันที่เคยท าได้ตามปกติ ผู้ป่วยต้องพึ่งพาผู้อื่นในการดูแลกิจวัตรประจ าวัน (Naruse, Sakai, Matsumoto &
                  Nagata, 2015) ซึ่งหากผู้ป่วยโรค NCDs ไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้องต่อเนื่อง จะก่อให้เกิด

                  ภาวะแทรกซ้อนในหลายระบบของร่างกาย ทั้งภาวะแทรกซ้อนแบบเฉียบพลัน และแบบเรื้อรังท าให้ภาวะโรค

                  รุนแรงขึ้น ส่งผลให้ความสามารถในการช่วยเหลือตนเองลดลง เกิดภาวะเจ็บป่วยต้องนอนติดบ้าน ติดเตียง ตาม
                  ด้วยความพิการและเสียชีวิตก่อนวัยอันควร (ณิสาชล นาคกุล, 2559) และส่งผลต่อด้านเศรษฐกิจของครอบครัว

                  อีกด้วยเนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในวัยท างาน ท าให้ขาดรายได้ ครอบครัวมีภาระเพิ่มมากขึ้นในด้านค่าใช้จ่าย

                  ในการรักษาพยาบาล ระยะเวลานอนโรงพยาบาลนานขึ้น ค่าใช้จ่ายในการรักษาเพิ่มมากขึ้น (Tas, Verhagen,
                  Bierma-Zeinstra, Odding & Koes, 2007)

                         โรค NCDs เกิดจากพฤติกรรมการด าเนินชีวิต ซึ่งการด าเนินของโรคเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ สะสมอาการ
                  อย่างค่อยเป็นค่อยไป หากไม่ดูแลตนเองหรือควบคุมพฤติกรรมสุขภาพจะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรค

                  ได้ทั้งอาการวิกฤตเฉียบพลันและเรื้อรัง เช่น อาจเกิดภาวะหลอดเลือดสมองปริแตกแทรกซ้อน ท าให้เกิดความ
                  พิการเป็นอัมพาตช่วยเหลือตนเองไม่ได้อยู่ในภาวะพึ่งพิงสูญเสียพลังอ านาจในตนเอง ซึ่งในผู้ป่วยโรค NCDs

                  พบอุบัติการณ์ภาวะซึมเศร้าสูงถึงร้อยละ 30.2 เนื่องจากภาวะซึมเศร้าความสัมพันธ์กับโรคหลอดเลือดสมองใน

                  ผู้ป่วยโรค NCDs อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ (Duangnate, 2021) ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกจึงให้ความส าคัญกับ
                  การจัดการโรค NCDs โดยองค์การอนามัยโลกก าหนดยุทธศาสตร์เพื่อป้องกันและควบคุมโรค NCDs และ

                  แผนปฏิบัติการระดับโลกเพื่อการป้องกันและควบคุมโรค NCDs พ.ศ. 2556-2563 และพัฒนาแผนงานส าหรับ

                  การน าไปปฏิบัติ พ.ศ. 2566-2573 (DEVELOPMENT OF AN IMPLEMENTATION ROADMAP 2023–2030
                  FOR THE GLOBAL ACTION PLAN FOR THE PREVENTION AND CONTROL OF NCDS 2013–2030) โดย

                  ก าหนดเป้าหมาย 9 ข้อ ดังนี้ (1) อัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ลดลงร้อยละ 25 (2)

                  การบริโภคแอลกอฮอล์ในระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพต่อหัวของประชากรต่อปี ลดลงอย่างน้อยร้อยละ 10
                  (3) ความชุกของประชากรที่กิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ ลดลงร้อยละ 10 (4) ค่าเฉลี่ยปริมาณการบริโภคเกลือ/

                  โซเดียมในประชากร ลดลงร้อยละ 30 (5) ความชุกของการบริโภคยาสูบในประชากรอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป
                  ลดลงร้อยละ 30 (6) ความชุกของผู้มีความดันโลหิตสูง ลดลงร้อยละ 25 หรือควบคุมความชุกให้อยู่ในระดับเดิม

                  ตาม (7) ความชุกของผู้ป่วยเบาหวานและโรคอ้วนไม่เพิ่มขึ้น (8) ประชากรกลุ่มเสี่ยงสูงได้รับยาและบริการ

                  ค าปรึกษาเพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 และ (9) มีเทคโนโลยีพื้นฐานและยาที่
                  จ าเป็นส าหรับการรักษาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่ส าคัญ ทั้งในสถานบริการของรัฐและเอกชน ร้อยละ 80 (World

                  Health Organization, 2013; 2021) จุดเน้นส าคัญของการด าเนินงานโรค NCDs ของทุกประเทศอยู่ที่ความ
                  ร่วมมือระหวางภาคีเครือข่ายภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการน านโยบายและแผนงานสู่การปฏิบัติระหว่าง

                  หน่วยงานภาครัฐ การเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างเข้มแข็งและจริงจัง

                  รวมทั้งการก ากับติดตามการด าเนินงานที่มีประสิทธิภาพ
                         ประเทศไทยน ายุทธศาสตร์ขององค์การอนามัยโลกดังกล่าว ก าหนดแผนปฏิบัติการด้านการป้องกัน

                  ควบคุมโรคและภัยสุขภาพของประเทศ ปัจจุบันระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566 - 2570) เป้าหมายคือ “ประชาชนมี

                  สุขภาพดีโดยการลดการป่วย ลดการเสียชีวิตจากโรคและภัยสุขภาพที่่ป้องกันได้่ ลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค
   535   536   537   538   539   540   541   542   543   544   545