Page 535 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 535
O10
รวมกับการตอบสนองของการบาดเจ็บ ดังนั้นภาวะทุพโภชนาการและภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยจะท าให้
การฟื้นฟูสมรรถภาพลดลง เพิ่มระยะเวลาในการพักรักษาตัวในโรงพยาบาล และท าให้ผลลัพธ์ทางคลินิกแย่ลง
โดยรวมแล้วภาวะทุพโภชนาการในผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักสามารถส่งผลต่อการเจ็บป่วย การตาย และ
ค่ารักษาพยาบาลที่เพิ่มขึ้น การศึกษาก่อนหน้ามีความชุกของภาวะทุพโภชนาการอยู่ที่ร้อยละ 4 ถึง 39.4 ขึ้นอยู่
กับเครื่องมือประเมินโภชนาการ และครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยที่มีกระดูกสะโพกหักมีความเสี่ยงต่อภาวะ
ทุพโภชนาการที่ประเมินโดย MNA-SF เครื่องมือคัดกรองที่ได้รับการตรวจสอบมีความส าคัญอย่างยิ่งต่อ
การระบุความเสี่ยงในภาวะทุพโภชนาการ
ในขณะที่การศึกษานี้ เราใช้ NAF ท าหน้าที่เป็นเครื่องมือคัดกรองพบความสัมพันธ์ในระดับปานกลาง
ของ NAF-BMI และ MNA-SF (BMI) และ MNA-SF (CC) ทั้งสองชนิด การศึกษาก่อนหน้านี้พิสูจน์ความถูกต้อง
ของ MNA-SF (BMI) และ MNA-SF (CC) ทั้งสองรูปแบบ ซึ่งสามารถประเมินภาวะโภชนาการของผู้สูงอายุได้
MNA-SF ยังสามารถใช้เป็นเครื่องมือคัดกรองภาวะทุพโภชนาการในผู้ใหญ่ทั่วไปที่เข้ารับการรักษาใน
โรงพยาบาล ใช้ในการคาดการณ์อัตราการเสียชีวิตในโรงพยาบาลได้ แม้ว่าการศึกษาก่อนหน้านี้แสดงให้เห็นว่า
MNA-SF ทั้งสองสามารถใช้เป็นเครื่องมือที่รวดเร็ว และเชื่อถือได้ ซึ่งสามารถระบุความเสี่ยงของภาวะ
ทุพโภชนาการทั้งในผู้สูงอายุและผู้ใหญ่ทั่วไปได้ แต่อย่างไรก็ตาม การศึกษานี้พบว่า มีระดับความสัมพันธ์ที่
สูงขึ้นของ NAF และ MNA-SF ในกลุ่มผู้สูงอายุที่มากกว่า 65 ปี เมื่อเทียบกับกลุ่มผู้ใหญ่ทั่วไปที่อายุน้อยกว่า
65 ปี ดังนั้น MNA-SF ทั้งสองจึงสามารถใช้เป็นเครื่องมือที่รวดเร็ว ง่ายดาย และเชื่อถือได้ ซึ่งสามารถระบุความ
เสี่ยงของภาวะทุพโภชนาการได้โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ
การน าไปใช้ของเครื่องมือ NAF เพื่อการประเมินภาวะโภชนาการในผู้ป่วยโรคกระดูกหัก เป็นสิ่งที่ไม่
สามารถมองข้ามได้ ควรมีการประเมิน NAF และมีการติดตามระดับ NAF เป็นระยะหลังให้เสริมโภชนาการที่ดี
เพื่อเพิ่มสมรรถนะทางกายของผู้ป่วย เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยที่มีกระดูกสะโพกหัก และหากมีการ
ประเมินและลงบันทึกกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัย (diagnosis-related group: DRG) เพื่อจัดหมวดหมู่ผู้ป่วย
ที่มีการวินิจฉัยทางคลินิกที่คล้ายคลึงกัน เพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาลได้ดีขึ้น และก าหนดอัตราการ
จ่ายเงินคืนของผู้จ่ายเงินให้กลับโรงพยาบาล โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยที่ต้องการการรักษาทางโภชนาการเป็น
พิเศษ ในทุกโรงพยาบาล
สรุปและข้อเสนอแนะ
NAF เป็นเครื่องมือที่มีความไวสูงและเป็นเครื่องมือที่สมาคม SPENT แนะน าให้ท าในผู้ป่วยนอน
โรงพยาบาล การที่น า NAF มาใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินผู้ป่วยที่มีกระดูกสะโพกหัก ท าให้จัดล าดับความ
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะทุพโภชนาการได้ดีขึ้น และ NAF ยังมีความสัมพันธ์กับเครื่องมือมาตรฐานสากล นั่นคืน
MNA-SF โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ นอกจากนี้การประเมินภาวะทุพโภชนาการในผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักที่ไม่
สามารถชั่งน้ าหนักได้ ยังสามารถใช้ผลเลือดจ านวนลิมโฟไซต์ทั้งหมดแทนได้