Page 538 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 538

O13

                  ผู้ป่วยหายเป็นปกติหรือไม่มีการสูญเสียสมรรถภาพการปฏิบัติกิจวัตรประจ าวัน (BI=20) ร้อยละ 60.3 ผู้ป่วยที่

                  ส่งต่อให้ทีมฟื้นฟูดูแลต่อ ร้อยละ 15.1 (BI=11-19) ผู้ป่วยที่ส่งต่อให้ทีม LTC ร้อยละ 24.7 (BI=0-10)


                  อภิปรายผล

                         จากการศึกษานี้ ผลการวิจัยพบว่าผู้ป่วยระยะกลาง 3 กลุ่มโรค (Stroke, TBI, SCI) จะพบในเพศชาย

                  มากกว่าเพศหญิง ส่วน Fracture around hip จะพบในเพศหญิงมากกว่า และอายุน้อยที่สุดคือ 23 ปีเป็น

                  โรค TBI อายุมากสุดคือ 92 ปี เป็นโรค Fracture around hip พบว่าโรค อายุ เพศ ไม่มีความแตกต่างกัน

                  ส าหรับคะแนนBI ทั้งก่อนและหลังการให้บริการ และหลังฟื้นฟูสมรรถภาพอย่างต่อเนื่องจนครบ 6 เดือน

                  ผู้ป่วยมีความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจ าวัน เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ(คะแนนก่อนและหลัง

                  ฟื้นฟู เท่ากับ 5.85 ± 5.45  และ  15.07 ± 7.26  ตามล าดับ  และความแตกต่างของค่าเฉลี่ย เท่ากับ 9.22

                  คะแนน, p< 0.000) และหลังได้รับการประเมินเพื่อประเมินเข้าสู่ระบบบริการบริบาลฟื้นฟูสภาพผู้ป่วย

                  ระยะกลาง โดยคะแนน BI = 20 มีจ านวน 44 ราย คะแนน BI = 11-19 มีจ านวน 11 ราย คะแนน BI = 0-10

                  มีจ านวน 18 ราย พบว่าคะแนนความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจ าวัน เพิ่มขึ้นหลังการฟื้นฟูสมรรถภาพ

                  อย่างต่อเนื่องจนครบ 6 เดือน สอดคล้องกับการศึกษาของวรุตม์ เกตุสิริ (2565) ที่ได้ศึกษาผลการจัดบริการ

                  ดูแลผู้ป่วยระยะกลางในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟูที่โรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัด

                  อุบลราชธานี โดยผู้ป่วยจะได้รับการฟื้นฟูจากแพทย์ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมและนักกายภาพบ าบัด

                  ที่ผ่านการฝึกอบรมการดูแลผู้ป่วยระยะกลางพร้อมกับทีมสหสาขาวิชาชีพ  ใช้แบบประเมินกิจวัตรประจ าวัน

                  ดัชนีบาร์เธล (barthel index,BI) ฉบับภาษาไทย หลังฟื้นฟูสมรรถภาพอย่างต่อเนื่องจนครบ 6 เดือน

                  ผู้ป่วยมีความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจ าวันทุกด้านเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ p<0.001


                  สรุปและข้อเสนอแนะ

                                การจัดบริการดูแลผู้ป่วยระยะกลางที่ต่อเนื่องในระยะ 6 เดือนแรก ท าให้ผู้ป่วย

                  มีความสามารถในการท ากิจวัตรประจ าวันเพิ่มขึ้น ควรพัฒนาระบบการดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยตามบริบทความพร้อม

                  ของโรงพยาบาลและชุมชน  ควรเพิ่มความถี่ในการติดตาม อย่างน้อย 1 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยให้ติดตามหลังออก

                  โรงพยาบาลให้เร็วที่สุดไม่เกิน 2 สัปดาห์ ในช่วง 6 สัปดาห์แรกที่ถือเป็น golden period ใน golden period

                  6 เดือน ควรให้หน่วยงานท้องถิ่น อสม. รพ.สต. เข้ามามีส่วนร่วมในการบริการให้มากขึ้น
   533   534   535   536   537   538   539   540   541   542   543