Page 539 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 539

O14

               รูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพด้วยหลักสุขภาพดี วิถีธรรม วิถีไทยเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน

                                   ของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ในเขตอ าเภอหนองแซง จังหวัดสระบุรี


                                                             นางศรีสง่า ภู่พัฒน์ นางสังเวียน การะสุข รพสต.หนองสีดา

                                                        นางกรองแก้ว โสภาพงษ์ นางทองมุก นิ่มเกสร รพสต.หนองหัวโพ
                                                                             นางละมุล แจ้งวาริต นายชนะวัฒน์ ศิริ

                                                       โรงพยาบาลหนองแซง/รพ.สต.ในอ าเภอหนองแซง เขตสุขภาพที่ 4

                                                                                               ประเภท วิชาการ



                  ความส าคัญของปัญหาวิจัย

                         กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ โรค NCDs (Non Communicable Diseases) เป็นปัญหาสุขภาพอันดับ
                  หนึ่งของโลกและประเทศไทยที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ รวมทั้ง

                  เศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ องค์การอนามัยโลกได้ประกาศว่า โรค NCDs 5
                  โรคหลักที่ก่อให้เกิดการเสียชีวิตและภาระโรค ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง โรค

                  ทางเดินหายใจเรื้อรัง และโรคทางสุขภาพจิต โดยมี 5 ปัจจัยเสี่ยงหลักที่เป็นสาเหตุของโรค NCDs ได้แก่ การ

                  สูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ การบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม และ
                  ภาวะมลพิษทางอากาศ ในปี พ.ศ. 2565 องค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานว่า ทั่วโลกเสียชีวิตจากโรค NCDs

                  41 ล้านคน ต่อปี คิดเป็นร้อยละ 74 ของการเสียชีวิตทั้งหมดของประชากรโลก และพบว่า 17 ล้านคนเสียชีวิต

                  จากโรค NCDs ก่อนอายุ 70 ปี หรือเรียกว่า “การเสียชีวิตก่อนวัยอันควร” และในจ านวนนี้ร้อยละ 86 เกิดขึ้น
                  ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ต่ าและรายได้ปานกลาง ร้อยละ 81 ของคนไทยเสียชีวิตจากกลุ่มโรค NCDs หรือ

                  เสียชีวิตกว่าปีละ 400,000 ราย หรือมากกว่า 1,000 รายต่อวัน ในจ านวนนี้ร้อยละ 80 สาเหตุจาก 4 โรคหลัก

                  ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง ภาวะน้ าตาลในเลือดสูง การ
                  สูบบุหรี่/ยาสูบ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ภาวะความดันโลหิตสูง และภาวะน้ าหนักเกินและโรคอ้วน เป็น 5

                  ปัจจัยเสี่ยงหลักที่ก่อให้เกิดภาวะโรคหรือการสูญเสียปีสุขภาวะของประชากรไทย ในปี พ.ศ. 2562 ประมาณ
                  ภาระทางเศรษฐกิจของประเทศไทยจากโรค NCDs มูลค่าสูงถึง 1.6 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 9.7 ของ

                  ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP)(กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, 2566) เนื่องจากการรักษา

                  โรค NCDs ไม่สามารถรักษาให้หายขาดและกลับคืนสู่ภาวะปกติได้ ผู้ป่วยต้องได้รับการดูแลและการฟื้นฟูเป็น
                  ระยะเวลายาวนาน ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนมีความซับซ้อนของโรคมากขึ้น อาทิ ระบบหลอดเลือดขนาด

                  เล็ก (Microvascular disease) เช่น จอประสาทตาเสื่อม (Retinopathy) ไตเสื่อม (Nephropathy) ระบบ
                  หลอดเลือดขนาดใหญ่ (Macrovascular disease) เช่น โรคหลอดเลือดสมอง (Cerebrovascular disease)

                  หลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery disease) ระบบหลอดเลือดส่วนปลาย (Peripheral arterial disease)

                  ระบบประสาท (Neuropathy) เช่น อัมพฤกษ์ อัมพาต และระบบทางเดินหายใจ เช่น ภาวะความดันหลอด
                  เลือดปอดสูง การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ หายใจได้ล าบาก มะเร็งปอด ภาวะซึมเศร้า เป็นต้น (Siantz &

                  Aranda, 2014) จนน าไปสู่การเกิดภาวะทุพพลภาพที่ร่างกายมีความเบี่ยงเบนจากสภาพปกติอย่างถาวรด้วย
   534   535   536   537   538   539   540   541   542   543   544