Page 541 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 541

O16

                  และภัยสุขภาพ” ซึ่งจะส่งผลให้่ประชาชนมีสุขภาพดี ลดภาวะแทรกซ้อน และมี่อายุ่ยืนยาว (กรมควบคุมโรค

                  กระทรวงสาธารณสุข, 2566) ในปี 2553 อัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรด้วยโรค NCDs ของคนไทย ร้อยละ
                  14.8 และปี 2561 ร้อยละ 12.7 ลดลงร้อยละ 13.89 ยังไม่ถึงเป้าหมาย (เป้าหมายลดลงร้อยละ 25) กระทรวง

                  สาธารณสุขจึงก าหนดเป้าหมายในปี 2568 เท่ากับร้อยละ 11.07 (กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข,

                  2566) โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมสุขภาพ ลดปัจจัยเสี่ยงของโรค และลดการเกิดภาวะแทรกซ้อน รวมทั้งการ
                  เสริมสร้างความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ อย่างเข้มแข็ง เพื่อให้อัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรด้วยโรค

                  NCDs ลดลงตามเป้าหมาย ช่วยลดการสูญเสียปีสุขภาวะ (DALYs) และปีสุขภาวะจากการตายก่อนวัยอันควร

                  (YLLs) ในประชาชนไทยลงได้ นอกจาก 5 โรคหลักดังกล่าวข้างต้นแล้ว ภาวะไขมันในเลือดสูง (Dyslipidemia :
                  DLD) ถือเป็นหนึ่งในปัญหาสาธารณสุข เพราะเป็นสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองซึ่งเป็นสาเหตุ

                  การเสียชีวิตอันดับ 2 ของโลก ปีพ.ศ.2563 พบผู้ป่วยจ านวนมากกว่า 80 ล้านคน ผู้เสียชีวิตประมาณ 5.5 ล้าน
                  คน และยังพบผู้ป่วยใหม่ถึง 14.5 ล้านคนต่อปี 1 ใน 4 เป็นผู้ป่วยที่มีอายุ 25 ปีขึ้นไป และร้อยละ 60 เสียชีวิต

                  ก่อนวัยอันควร (Division of Non-communicable Diseases, 2021) และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1
                  ของประเทศไทย พบว่าในปี 2563 ประเทศไทยมีผู้ป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมอง จ านวน 800,749 รายและ

                  เสียชีวิต จ านวนถึง 41,840 ราย (ร้อยละ 5.58) และในปี 2565 อัตราการเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดสมอง

                  เฉียบพลัน (Acute stroke) เท่ากับ 10.92 ต่อแสนประชากร โดยเขตสุขภาพที่ 4 มีอัตราการเสียชีวิตสูงสุด
                  เท่ากับ 16.05 ต่อแสนประชากร (สมศักดิ์ เทียมเก่า, 2565) กล่าวโดยสรุปได้ว่าโรคความดันโลหิตสูง

                  โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด และภาวะไขมันในเลือดสูง เป็นโรค NCDs ที่เป็นปัญหาสุขภาพอันดับ

                  หนึ่งของโลกและประเทศไทยที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ รวมทั้ง
                  เศรษฐกิจและสังคมที่ทุกภาคส่วนทุกระดับควรร่วมแก้ไขปัญหาสุขภาพนี้อย่างจริงจัง

                         การสร้างเสริมสุขภาพด้วยหลักสุ่ขภาพดี วิ่ถีธรรม วิ่ถีไทยตามหลักการ 3ส. 3อ.1น. หรือโปรแกรม 3ส.

                  3อ. 1น. (3ส. 3อ. 1น. หมายถึง สวดมนต์ สมาธิ สนทนาธรรม อาหาร ออกก าลังกาย อารมณ์-วิถีพุทธ และ
                  นาฬิกาชีวิต-วิถีพุทธ) เป็นนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นตั้งแต่ปีพ.ศ. 2553 โดยมูลนิธิอุทัย สุดสุข ได้รับอนุสิทธิบัตรจาก

                  กรมทรัพย์สินทางปัญญา (อุทัย สุดสุข, 2562) มีการน าโปรแกรมไปใช้เป็นเครื่องมือในโครงการสร้างเสริม
                  สุขภาพดีวิถีพุทธโดยกระทรวงสาธารณสุขได้ให้ความเห็นชอบเป็นนโยบาย สุขภาพดี วิถีใหม่ วิถีธรรม วิถีไทย

                  วิถีเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งนโยบายดังกล่าวมีการบูรณาการเข้ากับระบบโครงสร้างและเครือข่ายบริการปฐมภูมิ

                  และเวชศาสตร์ครอบครัว โดยให้ความส าคัญต่อการพัฒนาเครือข่ายหมู่บ้าน (บ.) วัด (ว.) โรงเรียน (ร.) สถาน
                  บริการสาธารณสุข (ส.) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อ.) และอาสาสมัครสาธารณสุขประจ าหมู่บ้าน (อ.) รวม

                  ย่อว่า บวร.สออ. ให้สามารถเป็นกลไกขับเคลื่อนองค์ความรู้และการปฏิบัติตนตามโปรแกรม 3ส.3อ.1น.สู่
                  ประชากรเป้าหมายได้อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ผู้เข้าร่วมโครงการที่ปฏิบัติตามโปรแกรมมีภาวะสุขภาพดีขี้นและ

                  เกิดพื้นที่ต้นแบบ ช่วยสนับสนุนนโยบายการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันและควบคุมโรค NCDs ของกระทรวง

                  สาธารณสุข อีกทั้งสอดรับกับยุทธศาสตร์เพื่อป้องกันและควบคุมโรค NCDs ขององค์การอนามัยโลกและ
                  นโยบายของประเทศมุ่งเน้นการส่งเสริมสุขภาพ ลดปัจจัยเสี่ยงของโรค และลดการเกิดภาวะแทรกซ้อน ส่งผล

                  ให้ประชาชนมีสุขภาพดีและมีอายุยืนยาวตามเป้าหมายของประเทศ
   536   537   538   539   540   541   542   543   544   545   546