Page 536 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 536
O11
ผลการจัดบริการบริบาลฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยระยะกลาง อ าเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
นางทศวดี ค านนท์คอม และนายฐิติพงษ์ ใจจา
โรงพยาบาลแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เขตสุขภาพที่ 1
ประเภท วิชาการ
ความส าคัญของปัญหาวิจัย
การดูแลผู้ป่วยระยะกลาง(Intermediate Care)หมายถึงจุดเชื่อมโยงในการดูแลที่ลดความพิการและ
พัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อเปลี่ยนภาระเป็นพลังของสังคม แสดงให้เห็นถึงความต่อเนื่องและเชื่อมโยงการบริการ
ซึ่งถือเป็นหัวใจส าคัญของการจัดระบบบริการ ผู้ป่วยระยะกลางหมายถึง ผู้ป่วย 4 กลุ่มโรคดังต่อไปนี้
ผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง (stroke) ผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะและสมอง(traumatic brain injury) ผู้ป่วยบาดเจ็บ
ทางไขสันหลัง (spinal cord injury) และผู้ป่วยกระดูกสะโพกหัก (fracture around HIP) ที่อายุ 50 ปีขึ้นไป
ผู้ป่วยระยะกลางเป็นผู้ป่วยที่มีความบกพร่องทางร่างกายที่ซับซ้อน และจ าเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูในหลายมิติ
ไม่ได้รับการดูแลต่อเนื่องในช่วง 6 เดือนแรก บางรายมีภาวะแทรกซ้อน เช่น มีแผลกดทับ ปอดบวม ข้อติดแข็ง
ภาวะทุพโภชนาการ จนถึงเสียชีวิตได้ ผู้ป่วยกลุ่มนี้ยังคงมีความผิดปกติทางร่างกายบางส่วน และมีข้อจ ากัดใน
การปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจ าวัน
การจัดบริการบริบาลฟื้นฟูผู้ป่วยระยะกลางหมายถึง การบริบาลฟื้นสภาพผู้ป่วยระยะกลางที่มีอาการ
ทางคลินิกผ่านพ้นภาวะวิกฤติและมีอาการคงที่ vital sign stable มากกว่า 48 ชั่วโมง ไม่มีอุปกรณ์เครื่องช่วย
หายใจ แต่ยังคงมีความผิดปกติของร่างกายบางส่วนอยู่ และมีข้อจ ากัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจ าวัน
จ าเป็นต้องได้รับการบริการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์โดยทีมสหวิชาชีพ (multidisciplinary approach)
อย่างต่อเนื่องจนครบ 6 เดือน ตั้งแต่ในโรงพยาบาลจนถึงชุมชน เพื่อเพิ่มสมรรถนะร่างกาย จิตใจ ในการปฏิบัติ
กิจวัตรประจ าวัน และลดความพิการหรือภาวะทุพพลภาพ รวมทั้งกลับสู่สังคมได้อย่างเต็มศักยภาพ
โรงพยาบาลแม่แตง ได้ก าหนดรูปแบบการจัดบริการบริบาลฟื้นฟูผู้ป่วยระยะกลาง ตามศักยภาพ
โดยจ าแนกออกเป็น งานบริการแบบผู้ป่วยนอก งานบริการแบบผู้ป่วยใน และงานบริการในชุมชนหรือการ
เยี่ยมบ้าน โดยระบบการให้บริการจะครอบคลุม การคัดกรอง การประเมิน วางแผนการดูแล ให้การบริการ
ประเมินผล และการส่งต่อข้อมูลเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับบริการบริบาลฟื้นฟูสภาพอย่างต่อเนื่อง
งานบริการเยี่ยมบ้านในชุมชน เป็นรูปแบบการจัดบริการในกรณีที่ผู้ป่วยยังมีความบกพร่องทางกาย
แต่ไม่สามารถมารับบริการที่ผู้ป่วยนอกได้ ต้องได้รับการเยี่ยมบ้านในรูปแบบสหสาขาวิชาชีพ มีการจัดบริการ
out-reach program (community) ได้รับการฟื้นฟูอย่างน้อย 45 นาที/ครั้ง อย่างน้อย 2 ครั้งต่อเดือน
ภายใน 6 เดือน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับศักยภาพและความพร้อมของการฝึกผู้ป่วย โดยโรงพยาบาลแม่แตง
มีการให้บริการ ทุกวันจันทร์ และวันพุธ อย่างน้อย 1-2 ครั้ง/เดือน/ราย