Page 537 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 537
O12
เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจน าไปสู่ความพิการ และพัฒนาความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตร
ประจ าวันของผู้ป่วยให้ดีขึ้น จนสามารถช่วยเหลือตนเองกลับมาท างานและใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ จ าเป็นต้อง
ได้รับการดูแลที่ต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะ 6 เดือนแรก ซึ่งเป็น Golden period ปัจจุบันทีมบริการ
ผู้ป่วยระยะกลางโรงพยาบาลแม่แตง สามารถติดตามดูแลได้เดือนละ 1 ครั้ง ซึ่งไม่เพียงพอต่อการฟื้นตัวของ
ผู้ป่วยได้และผู้ป่วยบางรายไม่มีญาติดูแล ในระหว่างที่ทีมยังไม่ได้ติดตามจ าเป็นต้องมีการดูแลที่ต่อเนื่อง ควรมี
เครือข่ายการดูแลเมื่อผู้ป่วยกลับสู่ชุมชนเพื่อให้ได้รับการดูแลที่ต่อเนื่อง และเพิ่มความถี่ในการให้บริการที่บ้าน
และในรายที่จ าหน่ายจากโรงพยาบาลควรได้รับการติดตามภายใน ไม่เกิน 2 สัปดาห์แรก พร้อมทั้งมีการติดตาม
ประเมินคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย จากข้อจ ากัดในหลายประเด็นในการดูแลผู้ป่วยระยะกลาง จึงได้ท าการศึกษา
ผลการจัดบริการฟื้นฟูผู้ป่วยระยะกลางด้านความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจ าวัน ในอ าเภอแม่แตง
จังหวัดเชียงใหม่
วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาผลการจัดบริการบริบาลฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยระยะกลาง 4 กลุ่มโรคระยะฟื้นฟู
ในด้านความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจ าวัน
วิธีการศึกษา
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบกึ่งทดลอง (Quasi experimental Research) กลุ่มตัวอย่าง 1
กลุ่ม วัดก่อนและหลังการให้บริการบริบาลฟื้นฟูสภาพ กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยระยะกลาง 4 กลุ่มโรคดังนี้ ผู้ป่วย
หลอดเลือดสมอง (stroke) ผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะและสมอง(traumatic brain injury) ผู้ป่วยบาดเจ็บทาง
ไขสันหลัง (spinal cord injury) และผู้ป่วยกระดูกสะโพกหัก(fracture around HIP)ที่อายุ 50 ปีขึ้นไป
ที่เข้าเกณฑ์ผู้ป่วยระยะกลาง จ านวน 73 ราย ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
โดยผู้ป่วยจะได้รับการติดตามเยี่ยมที่บ้านในรูปแบบสหสาขาวิชาชีพ และได้รับการฟื้นฟูอย่างน้อย 45 นาที/
ครั้ง อย่างน้อย 2 ครั้งต่อเดือน ต่อเนื่องจนครบ 6 เดือน ใช้แบบประเมินกิจวัตรประจ าวันดัชนีบาร์เธล
(barthel index,BI) ฉบับภาษาไทย ประเมินผลติดตามฟื้นฟูจนครบ 6 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจง
ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความสามารถในด้านความสามารถในการ
ปฏิบัติกิจวัตรประจ าวันด้วยสถิติ Chi-sqare test, paired sample t-test และ repeated measurement
ANOVA
ผลการศึกษา
ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชายร้อยละ 57.5 เป็นเพศหญิง ร้อยละ 42.5 อายุเฉลี่ย
64.73±15.67 ปี เป็นผู้ป่วย Stroke ร้อยละ 72.6 TBI ร้อยละ 6.8 SCI ร้อยละ 4.1 Fracture around the
hip ร้อยละ16.4 หลังฟื้นฟูสมรรถภาพอย่างต่อเนื่องจนครบ 6 เดือน ผู้ป่วยมีความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตร
ประจ าวัน เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ(คะแนนก่อนและหลังฟื้นฟู เท่ากับ 5.85 ± 5.45
และ 15.07 ± 7.26 ตามล าดับ และความแตกต่างของค่าเฉลี่ย เท่ากับ 9.22 คะแนน, p< 0.000)