Page 567 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 567

O42

                  คณะผู้วิจัยพบว่าปัญหาที่ส าคัญของศูนย์ยืม-คืน คือการยืม-คืนอุปกรณ์ยังไม่เป็นระบบ อุปกรณ์สูญหาย ช ารุด

                  ก่อนก าหนด อุปกรณ์ไม่เพียงพอ ไม่มีระบบตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ ขั้นตอนที่ 2  ศึกษาหลักการ
                  แนวคิด ทฤษฏี ความเป็นไปได้ในการแก้ปัญหา จากการทบทวนวรรณกรรม คณะผู้วิจัยพบแนวทางในการเพิ่ม

                  ประสิทธิภาพของศูนย์ยืม-คืน ซึ่งผู้วิจัยได้รวบรวมแนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อน ามาเป็นพื้นฐาน

                  ของกรอบแนวคิดในการศึกษา ขั้นตอนที่ 3 การออกแบบเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คณะผู้วิจัยได้สร้างเครื่องมือ
                  ในการพัฒนาระบบของศูนย์ยืม-คืน เพื่อใช้ในการประเมินระบบ ประกอบด้วย 4 ส่วนหลักๆ  คือ 1) ส่วนของ

                  สถานที่  2) ส่วนของการบริหารจัดการอุปกรณ์ และระบบจัดเก็บข้อมูล 3) ส่วนของคุณภาพของอุปกรณ์  4)
                  ส่วนของการบริการของเจ้าหน้าที่และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้มาใช้บริการของศูนย์ยืม-คืน ขั้นตอนที่

                  4 การทดลองใช้และปรับปรุง ตรวจสอบ คณะผู้วิจัยได้น าระบบพัฒนาประสิทธิภาพของศูนย์ยืม-คืน ที่

                  พัฒนาขึ้นมาทดลองใช้ เพื่อปรับปรุงแก้ไข และน าปัญหาและข้อเสนอแนะมาปรับปรุงและพัฒนา ขั้นตอนที่ 5
                  การประเมินผล คณะผู้วิจัยได้น าระบบการยืม-คืนอุปกรณ์ ที่พัฒนาขึ้นเสนอต่อคณะกรรมการประเมินศูนย์ยืม-

                  คืนอุปกรณ์ทางการแพทย์ จังหวัดอ านาจเจริญ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในการประเมินมาตรฐานของศูนย์ และใช้สถิติ
                  Dependent Samples t-test  เปรียบเทียบระดับการเปลี่ยนแปลงก่อนและหลังการพัฒนาและสรุปผล


                  ผลการศึกษา คณะผู้วิจัยได้น าระบบของศูนย์ยืม-คืนอุปกรณ์ทางการแพทย์ โรงพยาบาลปทุมราชวงศา
                  ที่พัฒนาขึ้นเสนอต่อคณะกรรมการประเมินศูนย์ยืม-คืน ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในการประเมินมาตรฐานของศูนย์

                  ยืม-คืนในจังหวัดอ านาจเจริญ ซึ่งเป็นระบบที่อยู่ในระดับที่ดีเด่นและให้เป็นต้นแบบในการด าเนินงานของศูนย์

                  ยืมคืนในจังหวัดอ านาจเจริญ พร้อมทั้งได้สอบถามความพึงพอใจของผู้มารับบริการที่ศูนย์ยืม-คืน จ านวน 93
                  ราย พบว่า ก่อนพัฒนาระบบ และหลังพัฒนาระบบในทุกมิติของการประเมินมีความแตกต่างกันอย่างมี

                  นัยส าคัญทางสถิติที่ P- value < 0.01 ยกเว้นมิติการบริการของเจ้าหน้าที่ไม่มีความแตกต่างทั้งก่อนและหลัง

                  การพัฒนาระบบ

                  อภิปรายผล

                         การพัฒนาระบบของศูนย์ยืม-คืนอุปกรณ์ทางการแพทย์ โรงพยาบาลปทุมราชวงศาที่พัฒนาขึ้นและ
                  เสนอต่อคณะกรรมการประเมินศูนย์ยืม-คืน ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในการประเมินมาตรฐานของศูนย์ยืม-คืนใน

                  จังหวัดอ านาจเจริญ ซึ่งถูกประเมินให้เป็นระบบที่อยู่ในระดับที่ดีเด่น ซึ่งสอดคล้องกับวชิระ มุกดาหาร

                  (2554)วิจัยเรื่องการพัฒนาระบบบริหารจัดการงานยืมคืนอุปกรณ์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ระบบงานนี้ได้รับ
                  การประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ในเรื่องระบบงานครุภัณฑ์โดยใช้วิธีตอบ

                  แบบสอบถาม ผลประเมินอยู่ในระดับดี จากการสอบถามความพึงพอใจของผู้มารับบริการที่ศูนย์ยืม-คืน จ านวน
                  93 ราย พบว่า ทุกส่วนของการประเมินมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ ยกเว้นการบริการของ

                  เจ้าหน้าที่ไม่มีความแตกต่าง ซึ่งสอดคล้องกับศูนย์วิจัยพุทธศาสตร์ (2564) วิจัยเรื่องความพึงพอใจของ

                  ประชาชนต่อคุณภาพของการให้บริการของเจ้าหน้าที่ในองค์กร
   562   563   564   565   566   567   568   569   570   571   572