Page 571 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 571
P2
3.3 ระยะส่งกลับ เมื่อผู้ป่วยได้รับการดูแลที่สำคัญ เช่น การผ่าตัดหรือการส่องกล้องเรียบร้อย
สมบูรณ์ ไม่มีภาวะแทรกซ้อนแต่มีความจำเป็นต้องดูแลเกินกว่า 72 ชั่วโมง พิจารณาส่งกลับตามศักยภาพ
ของโรงพยาบาลลูกข่าย โดยอาศัยระบบ Telemedicine เครือข่ายสัมพันธ์ และการดูแลเชิงรุก (จากข้อมูล
การลงตรวจเยี่ยม)
4. รวบรวมข้อมูลทางสถิติด้านผลการรักษา อัตราครองเตียงและระยะรอคอยการพบทีมศัลยแพทย์
จากระบบ PPK11 และความพึงพอใจรวมถึงอุปสรรคปัญหาต่างๆผ่านการประชุมการส่งต่อ ข้อร้องเรียน
หรือการแจ้งโดยตรงต่อผู้รับผิดชอบเพื่อทบทวนกระบวนการเป็นระยะ
ผลการศึกษา
1. ร้อยละการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรค Acute abdomen 5 ภาวะไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานระดับ
เขตสุขภาพ (ร้อยละ 2.5) และมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง หลังจากเริ่มใช้แนวทางการส่งต่อแบบใหม่ที่ได้รับ
การปรับปรุงทบทวน
2. อัตราการครองเตียงลดลงอย่างต่อเนื่อง สร้างโอกาสในการเพิ่มศักยภาพเชิงลึก เพื่อพัฒนางาน
ได้แก่ การจัดตั้งหอผู้ป่วยวิกฤตเพื่อการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉินทางศัลยกรรม (ปรับทรัพยากรเดิม)
อภิปรายผล
การปรับกระบวนการส่งต่อไม่สามารถลดการส่งต่อได้ แต่เพิ่มประสิทธิภาพการส่งต่อกลุ่มผู้ป่วยได้รับ
การกระจายจุดรับส่งต่อ ทำให้การดูแลรวดเร็วขึ้นลดระยะการรอคอยศัลยแพทย์จาก 2 – 4 ชั่วโมง
เหลือ15 – 30 นาทีต่อราย ส่งผลให้การเตรียมตัวผ่าตัดเร็วขึ้นและมีผลการรักษาที่น่าพึงพอใจทั้งด้านอัตราตาย
และภาวะแทรกซ้อน ด้านการลดอัตราครองเตียงทำให้สามารถปรับรูปแบบการบริหารเตียงหอผู้ป่วย
เป็นหอผู้ป่วยวิกฤตได้ถึง 6 เตียง ส่งผลให้ประสิทธิภาพการดูแลผู้ป่วยดีขึ้นโดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยวิกฤต
สรุปและข้อเสนอแนะ
การทบทวนปัญหาการทำงาน มีความเชื่อและความมุ่งมั่นในการแก้ปัญหาจะสามารถสร้างผลงานที่มี
ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น โดยอาศัยหลักการพิจารณาจุดเด่น ดึงศักยภาพที่ซ่อนเร้นผสมกับการใช้ข้อมูลทางสถิติ
ร่วมวางแผนการทำงานที่มีวิธีการแปลกใหม่สร้างสรรค์ การยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่มีประโยชน์ต่อผู้ป่วยใน
ทีมบริการจะช่วยลดหรือกำจัดช่องว่างงานการบริการได้ หลังการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงที่มีผลในทางที่ดีขึ้น
จำเป็นต้องหาช่องทางในการคงรูปแบบและพัฒนาต่อเนื่อง รวมถึงการนำช่องว่างที่เกิดขึ้นทั้งในเชิงบวกและ
เชิงลบมาทำการวิเคราะห์พัฒนาบริการภายใต้การให้กำลังใจ, ความเชื่อใจและการสนับสนุน ส่งผลความเจริญ
ที่ยั่งยืนมากกว่าความกดดันและการตั้งกฎเกณฑ์