Page 570 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 570

P1

                                   ส่งต่อ ส่งใจ ปลอดภัย  ไร้รอยต่อ โรงพยาบาลพระปกเกล้า


                                                                                          นางสำอางค์ บำรุงสวน
                                                               โรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรี เขตสุขภาพที่ 6

                                                                                              ประเภท วิชาการ

                  ความสำคัญของปัญหา
                         ผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉินทางช่องท้องเป็นภารกิจหลักสำคัญด้านหนึ่งของทีมนำศัลยกรรม ซึ่งมีที่มา

                  ของกลุ่มผู้ป่วยแตกต่างกัน ทั้งผู้ป่วยภายในเขตอำเภอเมืองและการรับส่งต่อจากโรงพยาบาลลูกข่าย
                  มีความหลากหลายด้านตัวโรคและความรุนแรง ผลการรักษาขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยโดยเฉพาะอย่างยิ่ง

                  ปัจจัยเรื่องเวลาที่ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัด ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่ออัตราตายและภาวะแทรกซ้อน
                  ปัจจัยที่นำมาวิเคราะห์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดูแล ได้แก่ กลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการส่งต่อจากโรงพยาบาลลูกข่าย

                  ซึ่งมีขั้นตอนและแนวทางที่ค่อนข้างล่าช้ารวมถึงความเชื่อมโยงระหว่างโรงพยาบาลยังมีจุดที่สามารถพัฒนา
                  ปรับปรุงได้ เพื่อลดระยะรอคอยการดูแลจากศัลยแพทย์และลดความแออัดของหอผู้ป่วยในประเด็นสำคัญ
                  ของการพัฒนาในกิจกรรมนี้ คือ การพัฒนาระบบการส่งต่อผู้ป่วยกลุ่มโรคดังกล่าว ทั้งระยะก่อนการส่งต่อ

                  ระยะส่งต่อและการส่งกลับเพื่อดูแลต่อเนื่อง โดยใช้การดูแลเชิงรุก, ระบบ LEAN, Telemedicine และ
                  เครือข่ายสัมพันธ์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดูแล ในกรณีรับเข้าเนื่องจากลดระยะรอคอย การพบศัลยแพทย์

                  และเพิ่มความปลอดภัยในการส่งกลับเพื่อลดความแออัดของหอผู้ป่วยใน

                  วัตถุประสงค์

                         เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการดูแลผู้ป่วยส่งต่อที่มีภาวะฉุกเฉินทางช่องท้องหลังจากปรับแนวทาง
                  การส่งต่อในด้านการลดอัตราตาย ความรวดเร็วในการเข้าถึงบริการ และความแออัดของหอผู้ป่วยใน โดยเก็บ
                  สถิติในกลุ่มผู้ป่วย Acute abdomen 5 ภาวะ (ทุกที่มา) และอัตราครองเตียงหอผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรมฉุกเฉิน

                  วิธีการศึกษา
                         1. รวบรวมข้อมูลพื้นฐาน วิเคราะห์ปัญหาสำคัญ หาแนวทางในการแก้ปัญหา และลงตรวจเยี่ยม

                  โรงพยาบาลลูกข่ายทุกแห่งเพื่อประเมินศักยภาพและร่วมปรึกษาหารือกระจายแนวทางการส่งต่อรวมถึง
                  แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์
                         2. จัดประชุมทีมนำศัลยกรรมในหน่วยงานหอผู้ป่วยแผนกศัลยกรรม จัดทำกลยุทธ์เพื่อบริหารงาน
                  หลังได้ข้อมูลสำคัญครบถ้วนโดยใช้หลักการสำคัญ 4 ข้อ ได้แก่ การดูแลเชิงรุก Telemedicine

                  ระบบ LEAN และ เครือข่ายสัมพันธ์
                         3. จัดทำระเบียบขั้นตอนการส่งต่อแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะก่อนส่งต่อ ระยะส่งต่อ และการ
                  ส่งกลับเพื่อดูแลต่อเนื่อง ดังนี้
                                3.1 ระยะก่อนส่งต่อ ให้ทำการติดต่อประสานสามสาย (ศูนย์ประสานส่งต่อ-แพทย์

                  โรงพยาบาลลูกข่าย-ศัลยแพทย์) ทำการรับส่งข้อมูลผ่านระบบ Telemedicine ทำการวิเคราะห์ข้อมูล
                  และหารือร่วมกันเพื่อพิจารณา ช่วงเวลาการส่งต่อ สถานที่ส่งผู้ป่วย และการเตรียมตัวทั้งผู้ส่ง-ผู้รับรวมถึงข้อมูล
                  สำคัญที่ต้องการเพื่อการดูแลรักษา
                                3.2 ระยะส่งต่อ กระจายจุดส่งต่อเพื่อลดความแออัดของห้องฉุกเฉินโดยใช้ระบบ LEAN

                  ทำการกระจายออกเป็นจุดต่างๆดังนี้ หอผู้ป่วยใน (Admit pass-ward) ห้องตรวจผู้ป่วยนอก และห้องฉุกเฉิน
                  โดยพิจารณาตามกระบวนการดูแลรักษาที่ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับเป็นสำคัญ
   565   566   567   568   569   570   571   572   573   574   575