Page 566 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 566

O41

                         ประสิทธิภาพของศูนย์ยืมคืนอุปกรณ์ทางการแพทย์ส าหรับผู้ป่วยกึ่งเฉียบพลัน

                             ( Intermediate Care)และผู้ป่วยระยะประคับประคอง( Palliative Care)
                                                  โรงพยาบาลปทุมราชวงศา


                                                      ฐิติชญา วงค์เทพ อภิวัฒน์ สีถาการ เยาวราภรณ์ ยืนยงค์ และคณะ

                                                                      โรงพยาบาลปทุมราชวงศา จังหวัดอ านาจเจริญ

                                                                                               เขตสุขภาพที่ 10



                  ความส าคัญของปัญหาวิจัย

                         ระยะเวลาการรักษาในโรงพยาบาล (in-patient length of stay) ของโรงพยาบาลต่าง ๆ ในปัจจุบันมี

                  แนวโน้มลดสั้นลง โดยแพทย์ได้พยายามจ าหน่ายผู้ป่วยที่มีอาการทางการแพทย์คงที่แล้วออกจากโรงพยาบาล
                  เพื่อลดความแออัด ความเสี่ยงในการติดเชื้อ รวมถึงค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นกับโรงพยาบาลและญาติ อย่างไรก็ตาม

                  ผู้ป่วยบางรายยังมีปัญหาทางสุขภาพที่จ าเป็นต้องใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ต่อภายหลังออกจากโรงพยาบาล
                  โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยที่อยู่ในระยะกึ่งเฉียบพลัน (Intermediate Care ) และกลุ่มผู้ป่วยที่อยู่ในระยะ

                  ประคับประคอง (palliative Care) ที่ต้องใช้อุปกรณ์เครื่องช่วยชีวิตต่าง ๆ เช่น ที่นอนลม   เครื่องผลิต

                  ออกซิเจน  เครื่องดูดเสมหะ หรือแม้แต่เตียงนอน  ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้บางอย่างมีราคาค่อนข้างสูง โดยเฉพาะ
                  ผู้ป่วยที่อยู่ตามชนบท ไม่สามารถรับผิดชอบค่าใช้จ่ายได้ ดังนั้นโรงพยาบาลปทุมราชวงศา จึงจัดให้มีศูนย์ยืม-

                  คืนอุปกรณ์ทางการแพทย์ เพื่อให้บริการผู้ป่วยในกลุ่มดังกล่าวที่ถูกจ าหน่ายออกจากโรงพยาบาล  ซึ่งที่ผ่านมา

                  ศูนย์นี้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการจัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์ต่างๆจากกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพ
                  จังหวัดอ านาจเจริญรวมทั้งได้รับบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธา แต่หลังจากคณะผู้วิจัยได้ด าเนินงานของศูนย์นี้มา

                  ระยะหนึ่ง พบปัญหาส าคัญ คือ ศูนย์ยืม-คืนอุปกรณ์เป็นศูนย์ยืมแบบ “อนาถาฯ” ยืมตามมีตามเกิด อุปกรณ์ไม่

                  เพียงพอ ไม่มีระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ช ารุดก่อนก าหนด เกิดความไม่คุ้มค่า แรกๆอุปกรณ์ก็มี
                  สภาพดีน่าใช้งานแต่หลังๆมีสภาพเก่าไม่น่าใช้งาน ท าให้ผู้มารับบริการที่ศูนย์บางรายปฏิเสธอุปกรณ์ที่ทางศูนย์

                  ได้จัดสรรให้

                  วัตถุประสงค์การศึกษา


                         เพื่อพัฒนาระบบของศูนย์ยืม-คืนอุปกรณ์ทางการแพทย์โรงพยาบาลปทุมราชวงศา ให้มีคุณภาพและ
                  ประสิทธิภาพโดยสลัดทิ้งแห่งร่องรอยของค าว่า “ศูนย์อนาถาฯ” และต้องเป็นศูนย์ที่คนทั่วไปมองแล้วอยากเข้า

                  ไปใช้บริการและสอบถามความพึงพอใจของผู้มาใช้บริการที่ศูนย์ยืม-คืน

                  วิธีการศึกษา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development: R&D) เพื่อปรับปรุงและ

                  พัฒนาระบบบริหารจัดการอุปกรณ์ทางการแพทย์ของศูนย์ยืม-คืน โรงพยาบาลปทุมราชวงศา โดยใช้สถิติเชิง
                  พรรณนา ในการอธิบายลักษณะประสิทธิภาพของศูนย์และผลการศึกษาใช้สถิติ dependent samples t-test

                  เปรียบเทียบระดับการเปลี่ยนแปลงก่อนและหลังการพัฒนาระบบ โดยก าหนดระดับนัยส าคัญทางสถิติที่ p-
                  value<0.05 และได้แบ่งการด าเนินงานเป็น 5 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 ส ารวจสภาพปัญหาและความต้องการ
   561   562   563   564   565   566   567   568   569   570   571